วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระมหาโพธิสัตว์ 84 ปาง

มหาโพธิสัตว์กวนอิมคนไทยส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ เป็นจำนวนมากเช่นกัน พระโพธิสัตว์กวนอิม เกิดชาติสุดท้ายเป็นมนุษย์ แต่เดิมเป็นเทพธิดา ได้จุติลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีก่อนพระโพธิสัตว์ กวนอิม มีพระนามว่าเมี่ยวซ่านเป็นราชธิดาของกษัตริย์เมี่ยวจวง แห่งอาณาจักรซิงหลิง อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศจีน พระธิดาเป็นผู้มีจิตใจดีงาม มีน้ำพระทัยเมตตา กรุณาต่อทุกสรรพสิ่ง
เมื่อเยาว์วัย ทรงลึกซึ้งถึงหลักธรรม ได้ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ ในการบำเพ็ญภาวนา เพื่อความหลุดพ้นทุกข์ จึงทรงออกบวช พระบิดา เมี่ยวจวงทรงไม่เห็นด้วย มีพระประสงค์ให้อภิเษกสมรส จึงได้บังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อสืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่พระธิดาเมี่ยวซ่านไม่ยินยอม ถึงแม้จะถูกพระบิดาทรงต่อว่า พระธิดาเมี่ยวซ่าน ไม่เคยนึกโกรธแต่อย่างใดเลย ถึงจะให้พระธิดาเมี่ยวซ่านไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ บ้างหาบน้ำ เพื่อต้องการทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจให้หันมาอภิเษกสมรส  เมื่อพระราชบิดา ทรงเห็นว่าไม่ได้ตามต้องการแล้ว จึงสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำพระธิดาเมี่ยวซ่านไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว พร้อมให้งานของวัดมอบให้ พระธิดาทำคนเดียว พระธิดาได้ทำงานทั้งหมดอย่างไม่ย่อท้อ พระบิดาทรงเข้าพระทัยว่า เหล่าแม่ชีไม่ได้ทรงทำตามรับสั่งไว้ จึงเกิดความไม่พอพระทัย สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาว สุดท้ายพระธิดาเมี่ยวซ่านทรงรอดชีวิตมาได้พระราชบิดาทรงทราบเรื่อง จึงสั่งให้นำตัวพระธิดาไปประหารชีวิต แต่ด้วยพระราชธิดาทรงมี เหล่าองค์เทพคอยคุ้มครองรักษาอยู่ จึงรอดปลอดภัยจากการประหารชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่า 
ในขณะนั้นได้ปรากฏ เสือเทวดาตัวหนึ่ง ได้พาพระธิดาเมี่ยวซ่าน หนีไปที่เขาเซียงซัน ขณะนั้นได้มีเทพแปลงร่างเป็นชายชรามาโปรด เพื่อแนะการบำเพ็ญเพียรและการดับทุกข์ ในที่สุดพระธิดาเมี่ยวซ่าน สามารถสำเร็จธรรมขั้นสูง บรรลุมรรคผล ในเวลานั้นพระธิดาเมี่ยวซ่าน ซึ่งถือได้เป็นเป็นชาวพุทธ แต่เมื่อมีเทพได้แปลงกายลงมาโปรดแนะการบำเพ็ญดับทุกข์ในภายหลัง ซึ่งเป็นเทพฝ่ายเต๋า จึงสำเร็จในธรรมขั้นสูง พระโพธิสัตว์กวนอิม จึงเป็นทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋า ในขณะเดียวกันพระนามกวงซีอิม
กวง แปลว่า มอง มองด้วยปัญญา มองด้วยการพิจารณา
ซี แปลว่า โลก , สังคม
อิม แปลว่า เสียง ,กระแสเสียง
กวงซีอิม แปลว่า มองเสียงโลก
การบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์ ต้องบำเพ็ญจิตให้เข้มแข็งและกล้าแกร่ง ทุกขณะจิตย่อมให้เกิดประโยชน์ต่อสรรพสิ่งและสรรพชีวิต ไม่เห็นแก่ตัว ,ไม่เห็นแก่ได้,ไม่เห็นแก่นอน ,ไม่เห็นแก่กิน,ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ฯลฯ หากการบำเพ็ญยิ่งสูงขึ้น จนจิตไร้การยึดติด เกิดจิตที่เป็นอิสระ ยอมสละ แม้กระทั่งเลือดเนื้อ อวัยวะน้อยใหญ่ และยอมเสียแม้ชีวิตของตน เป็นต้นคุณธรรมของพระโพธิสัตว์ คือ ต้องมีสัจจะ มีธรรม สำรวจตรวจจิตตนเอง ไม่อวดตน มีอุเบกขา อารมณ์สงบนิ่ง มีความอดทน อารมณ์ แห่งโพธิสัตว์ คือ เมตตาอภัยทาน ไม่ยึดติด ยอมรับกฎไตรลักษณ์ เข้าถึงสัจธรรมของความเป็นจริง เป็นต้น
คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์ คือ เกิดปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ตกเป็นทาสกิเลส มีจิตเมตตากรุณาต่อสรรพสิ่งขยายน้ำใจออกไปอย่างไม่ มีขอบเขตที่สิ้นสุด มีอุบายวิธีการอันแยบคายในการสอนอย่างชาญฉลาด แนะนำสั่งสอนให้เห็นความจริงของโลกและเข้าถึงสัจธรรม องค์สมมติพระโพธิสัตว์กวนอิมในปางต่าง ๆได้แก่ ปางพันเนตรพันกร ปางเหยียบมังกร ปางเหยียบปลามังกร ปางประทานพร ปางอุ้มบาตร ฯลฯ
สิ่งของต่าง ๆ ในพระหัตถ์ปางพันเนตรพันกร
สุริยัน จันทรา หมายถึง ปัญญารู้เท่าทันในอารมณ์ต่างๆ
ประนมกร หมายถึง ความอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพในพุทธะและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
โอบอุ้มโลก หมายถึง ความเมตตากรุณา และการเป็นอภัยทาน
ลูกประคำ,เชือก หมายถึง ความไม่ประมาท ยึดมั่นในศีล อบรมจิต ฝึกปฏิบัติอยู่เสมอ
คันศร,ลูกศร หมายถึง ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีหลักการ หลุดพ้นวัฏสงสารการตายการเกิด
คัมภีร์, สมุด หมายถึง ศึกษาทบทวนพระธรรมเสมอ
ดอกบัว หมายถึง ความใสสะอาดบริสุทธิ์
คนโทน้ำทิพย์ หมายถึง น้ำทิพย์รักษาโรค เสริมสิริมงคลแก่สัตว์โลก ผู้ตั้งมั่นในธรรม
พระแสงดาบ หมายถึง ปัญญาฆ่ากิเลส
พระแสงขวาน หมายถึง ปราบมาร โลภ โกรธ หลง มิจฉาทิฐิ
ธรรมจักร หมายถึง ทรงลื้อขนสัตว์โลก สืบทอดเผยแพร่พระศาสนา
เชือกบ่วงบาศ หมายถึง เครื่องช่วยฉุดสัตว์โลกให้พ้นจากภัยอันตราย(ล้วนเป็นปริศนาธรรม)
เมื่อท่านเคารพต่อพระโพธิสัตว์แล้ว หรือถึงขั้นศรัทธาต้องการมุ่งสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ แม้กระทั่งเคยฝากตัวเป็นลูกศิษย์มา ด้วยการอธิษฐาน ทางจิต หรือเข้าสำนักธรรมเพื่อการปฏิบัติ ควรฝึกจิตให้นิ่งสงบเป็นอารมณ์อยู่ตัวเสมอ จนเกิดความเป็นปกติของจิต ไม่ว่าคำด่า คำชม ก็ไม่ให้เป็นไปตามกระแสของอารมณ์อื่นให้เป็นเพียงจิตสงบ ไม่ยึดติดในคำนินทาว่าร้าย และคำสรรเสริญ เมื่อจิตสงบได้ ย่อมเกิดปัญญา ปัญญาที่ดีทำให้จิตแช่มชื่น เมื่อจิต แช่มชื่น ร่างกายย่อมผ่องใสไม่มีทุกข์ร้อน และการอธิษฐานบารมีส่งแผ่ให้โลกเกิดสงบสุข ให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้ากัน แผ่เมตตาให้แก่สัตว์โลกทั้งหลาย จิตแห่งการอธิษฐานจิตบารมีนี้เป็นจิตที่สูง ช่วยหนุนจิตท่านเป็นผู้ให้ที่ดี ไม่เป็นผู้ขอ เป็นจิตผู้เสียสละไม่โลภ ไม่หลงไปตามกระแส ไม่ยึดติด มีจิตเป็นอิสระ การปฏิบัติธรรมขั้นสูงของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ล้วนมีมหาอุปสรรค(เครื่องกีดขวางการเข้าถึงโพธิจิต) จึงจำเป็นต้องสร้างความอดทน เพียรพยายามภาย ในจิตใจเป็นอย่างสูง ให้ดวงจิตเกิดความเข้มแข็ง และการเสียสละอย่างแท้จริง เพื่อจะได้ไม่ท้อถอยไปเสียก่อน ในการเข้าถึงธรรมขั้นสูงต่อไป
ขอน้อมสักการะ ด้วยความเคารพ ศรัทธาด้วยใจ พร้อมระลึกนึกถึงพระคุณ พระโพธิสัตว์กวนอิม พระองค์ทรงเจริญเมตตาในธรรม อย่างไม่มีขอบเขต ทรงช่วยเหลือมวลสรรพสิ่งให้พ้นทุกข์แห่งวัฏสงสาร
พระคาถาบูชา บทสรรเสริญพระคุณพระโพธิสัตว์กวนอิมนำโม กวนสี่อิม ผ่อสัก
นำโม ไต่ชื้อ ไต่ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เหล่งก้ำ กวงสี่อิมผ่อสัก ( กราบ )
นำโม ไต่ชื้อ ไต่ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เหล่งก้ำ กวงสี่อิมผ่อสัก ( กราบ )
นำโม ไต่ชื้อ ไต่ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เหล่งก้ำ กวงสี่อิมผ่อสัก ( กราบ )
นำโมฮุก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิ้วโค่ว กิวหลั่งกวงสี่อิมผ่อสัก
ถั่งจี้ตอ โอม เกียล้อฮวดตอ เกียล้อฮวดตอ เกียคอฮวดตอ หล่อเกียฮวดตอ
หล่อเกียฮวดตอ ซาผ่อออ เทียงหล่อซิ้ง ตี่หล่อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งหลี่ซิง
เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง นำมอ หม่อ ออ ปวกเยี้ย ปอหล่อบิ๊ก (กราบ)
พระคาถาจีนแปลเป็นไทยโดยใจความ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบนมัสการแทบเบื้องพระยุคลบาทแห่งองค์พระพุทธบิดรอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์สาวก
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ ต่อเจ้าแม่กวนอิมบรมโพธิสัตว์พุทธเจ้า พระผู้ทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากลำบากอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีการถือชั้นวรรณะ น้ำพระทัยของพระองค์บริสุทธิ์ และศักดิ์สิทธิ์ประดุจดังกระแสแห่งทิพย์
ข้าพเจ้าขอถวายอภิวาทต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และพระอรหันต์ สาวกสาวิกาทั้งหลาย เทพเจ้าบนสวรรค์ เทพเจ้าผู้รักษาแผ่นดิน ขอให้ข้าพเจ้า พ้นจากเคราะห์กรรมทั้งปวง ขอให้ข้าพเจ้าได้ปัญญา ให้ข้าพเจ้าได้โลกกุตตระ ได้เข้าถึงฝั่งแดนพระอริยะด้วยเทอญ
โอม มานี ปะ หมี่ ฮง
ก่อนนั่งสมาธิให้ตั้ง(นะโม 3 จบ)  แล้วจึงว่าคาถา โอม มานี ปะ หมี่ ฮง พร้อมอธิษฐาน
ขอพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ เสด็จมาสอนลูกให้รู้จักวิธีนั่งกรรมฐาน เพื่อเสริมบารมีให้กับลูก และถวายพระแม่
หลังจากนั้น ให้สวดคาถาพระอวโลกิเตศวร ว่า
โอม มานี ปะ หมี่ ฮง 0 หม่าโฮ อี่ ยา นัก 0 เจ็ด ตู เต็ก ปา ตั๊ก 0 เจ็ด เต็ก เซ นัก 0 หมี่ ตา ลี่ โก 0 สัก อือ วา อือ ทา 0 ปู ลี สิด ตะโก 0 นัก ปู ลา นัก 0 นัก ปู ลี 0 ติว เตอ บัน นัก 0 ไน มา หลู่ กี 0 ซัว ลา เย ซอ ฮอ 0 ( 3 จบ )
เมื่อสวดจบแล้ว ทำจิตให้เป็นสมาธิ ระหว่างยังไม่เป็นสมาธิให้ระลึก ถึงองค์พระแม่กวนอิมแล้วภาวนาว่าโอม มานี ปะ หมี่ ฮงหรือนำ โม กวน ซือ อิม ผ่อ สักหรือนำ โม ออ นี ถ่อ ฮุก
พระคาถามหากรุณาธารณีสูตร ( ไต่ปุยจิ่ว )โชย ชิ่ว โชย งั่ง บ่อ ไหง ไต่ ปุย ซิม ทอ ลอ นี จิ่ว(3จบ)
ปึง ซือ ออ นี ทอ ยู ไล้ (3 จบ)
0นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย 0 นำ มอ ออ ลี เย 0 ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย 0 ผู่ ที สัต ตอ พอ เย 0 หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย 0 หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย 0 งัน 0 สัตพัน ลา ฮัว อี 0 ซู ตัน นอ ตัน เซ 0 นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย 0 ผ่อ ลู กิด ตี
สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ 0 นำ มอ นอ ลา กิน ซี 0 ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม 0 สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง 0 ออ ซี เย็น 0 สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ เค 0 มอ ฮัว เตอ เตา 0 ตัน จิต ทอ 0 งัน ออ พอ ลู ซี 0 ลู เกีย ตี 0 เกีย ลอ ตี 0 อี ซี ลี 0หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ0 สัต พอ สัต พอ 0 มอ ลา มอ ลา 0 มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน 0 กี ลู กี ลูกิด มง 0 ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี 0 หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี 0 ทอ ลา ทอ ลา 0 ตี ลี นี 0 สิด ฮู ลา เย 0 เจ ลา เจลา 0 มอ มอ ฮัว มอ ลา 0 หมก ตี ลี 0 อี ซี อี ซี 0 สิด นอ สิด นอ 0 ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี 0 ฮัว ซอ ฮัว ซัน 0 ฮู ลา เซ เย 0 ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา 0 ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี 0ซอ ลา ซอ ลา 0 สิด ลี สิด ลี 0 ซู ลู ซู ลู 0 ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย 0 ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย 0 มี ตี ลี เย 0 นอ ลา กิน ซี 0 ตี ลี สิด นี นอ 0 ผ่อ เย มอ นอ 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 สิด ถ่อ เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย ซอ ผ่อ ฮอ 0 สิด ทอ ยี อี 0 สิด พัน ลา เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 นอ ลา กิน ซี 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 มอ ลา นอ ลา 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 สิด ลา เซง ออ หมก เค เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ0 เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย 0 นำ มอ ออ ลี เย 0 ผ่อ ลู กิต ตี 0 ชอ พัน ลา เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ 0 งัน สิด ติน ตู 0 มัน ตอ ลา 0 ปัด ถ่อ เย 0 ซอ ผ่อ ฮอ
พระคาถามหากรุณาธรณีสูตร(ภาษาสันสกฤต)
นโมรัตนตรายายะ นโมอารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ โพธิสัตตวายะ มหาสัตตวายะ มหาการุณิกายะ โอมสะวะละวะติ ศุททะนะตัสยะ
นมัสกฤตวานิมาง อาระยะ อวโลกิเตศะวะระลันตะภา นโมนิลากันถะ ศรีมหาปะฏะศะมิสระวาทวะตะศุภัม อสิยูม สะรวะสัตตวะ นโมปวสัตตวะ นโมภะคะมะภะเตตุ ตัทยะถาโอมอวโลกา โลกาเต กาละติ อีศีลี มหาโพธิสัตตวะ สาโพสาโพ มะรามะรา มะศิมะศิ ฤธะยุ คุรุคุรุฆามัม ธูรูธูรูภาษียะติ มหาภาษียะติ ธาระธาระ ถิรินี ศะวะรายะชะละชะละ มามะภามะละ มุธิริ เอหิเอหิศินะศินะ อาละลินภะละศรี ภาษาภาษิน การะศะยะ หูลุหูลุมะระ หุลุหุลุศรี สะระสะระ สีรีสีรี สุรุสุรุ พุทธายะพุทธายะ โพธายะโพธายะไมตรีเย นิละกันสะตะ ตริสะระณะ ภะยะมะนะ สวาหาสีตายะ สวาหา มหาสีตายะ สวาหา สีตายเย ศะวะรายะ สวาหา นีลากันถิ สวาหา มะละนะละ สวาหา ศรีสิงหะมุขายะ สวาหา สะระวะมหาอัสตายะสวาหา จักระอัสตายะ สวาหา ปัทมะเกสายะ สวาหานีละกันเตบันตะลายะ สวาหา โมโผลิศังกะรายะ สวาหานโมรัตนตรายายะ นโมอารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ สวาหาโอมสิทธยันตุ มันตรา ปะทายะ สวาหา
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร กล่าวไว้ว่า หากสรรพสัตว์ สวดพระคาถาบทนี้ ด้วยจิตตั้งมั่นแล้ว ขอพรในชาตินี้ หากไม่สมพรดังที่ขอไว้ เราจะไม่ขอ บรรลุเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่าลืมว่าการขอพรต้องเป็นไปในทางเกิดกุศลผลบุญที่สุด เพื่อจะได้ไม่เกิดกิเลสใน รัก โลภ โกรธ หลง ค่ะ)
พระคาถามหากรุณาธารณีสูตร(ภาษาธิเบต)
นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ./ นา.มา.อา.รยา./ อ.วา.โล.กิ.เต.โซ.รา.ยา./โบ.ธิ.สัต.โต.ยา./ ม.หา.สัต.โต.ยา./ ม.หา.กา.รุ.ณิ.กา.ยะ./ โอม**สา.วา.ลา.วา.ติ /ศุ.ดา.นา.ตา.เซ. น.โม.สกา.ตวา.นิ.มัม.อา.รยา./ อ.วา.โล.กิ.เต.โซว์.รา.ลัม.ตา.บา./ น.โม.นี.ลา.เกน.ถา./ ศรี.ม.หา.ปา.ตา.ศา.มิ./ สวา.โต.ตา.ศุ.บัม./ อะ.ศี.ยัม./ สวา.สัต.โต.นะ.โม.ปา.สัต.โต.นา.มา.บา.คา./ มา.บา.เต.ตุ /ตา ยา.ถา./โอม**อ.วา.โล.กา./ โล.กา.เต./ กา.ลา.ติ./ อี.ศี.รี./ ม.หา.โบ.ธิ.สัต.โต./ สา.โบ.สา.โบ./ มา.รา.มา.รา./ มา.ศิ.มา.ศิ.ริ.ดา.ยุ./คู.รู.คู.รู.คา.มัม./ ตู.รู.ตู.รู.บา.ศี.ยา.ติ ./ ม.หา.บา.ศี.ยา.ติ./ ดา.รา.ดา.รา./ ดิ.ริ .ณี. /โซว์.รา.ยา./ จา.ลา.จา.ลา./ มา.มา.บา.มา.รา. / มุ.ดิ.ลิ. / เอ.ฮา.ยา.เฮ./ ศิ.นา.ศิ.นา./ อา.ลา.ศิน.บา.ลา.ศา.รี. /บา.ศา.บา.ศิน. /บา.รา.ศา.ยา./ ฮู.ลู.ฮู.ลู.มา.รา./ ฮู. รู. ฮู. รู. ศรี./สา.รา.สา.รา./ สิ. รี. สิ. รี./ สุ. รู. สุ. รู. /บุด.ดา.ยะ.บุด.ดา.ยะ./ โบ.ดา.ยะ.โบ.ดา.ยะ./ ไม.ตรี.เย./ นี.ลา.เกน.ถา./ ตริ.ศา.รา.นา./บา.ยา.มา.นา./ โซ. ฮา./ สิ.ตา.ยา./ โซ. ฮา./ ม.หา.สิ.ตา.ยา./ โซ. ฮา/สิ.ตา.ยา.เย./ โซว์.รา.ยา./ โซ. ฮา./ นี.ลา.เกน.ถา./ โซ. ฮา./ นี.ลา.กัน.เถ.ปัน.ตะ.ลา.ยะ./ โซ. ฮา./ โม.โบ.ลี.ศังกะ.รา.ยะ./ โซ. ฮา./ น.โม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ./ นะ.มา.อา.รยา./ อ. วา.โล.กิ.เต./ โซว์.รา.ยะ./ โซ. ฮา./ โอม**สิท.ธริน.ตุ./ มัน.ตา.รา./ ปา.ตา.เย./ โซ. ฮา//***
NAMO RATANA TRAYAYA / NAMA ARRAYA / A VA LO KITE' SHO RAYA / BHOTI SATTO YA / MAHA SATTO YA / MAHA KARU"NI KAYA / OM** SAVA LAVATI / SUDRA NATA SE' / NAMO SKA TAVA NIMAM ARRAYA / A VALO KITE' SHORA LAMTABA / NAMO NILAKENTHA / SRI MAHA PATA SAMI / SARVA TOTA SUBAM / ARSIYUM / SARVA SATTO NAMOPA SATTO NAMA BAKA / MABATE'TU"/ TEYATA / OM**AVALOKA / LOKATE' KALATI / ISIRI / MAHA BHOTI SATTO / SABHO SABHO / MARA MARA / MASI MASI RIDAYU / GURU GURU GA MAM / TURU TURU BHASIYATI / MAHA BHASIYATI / DARA DARA / DHIRINI / SHO RAYA / JALA JALA / MAMA BAMARA / MUDHILI / A HE'YA HI / SINA SINA / ARLA SIN BALASARI / BASA BASIN / BARA SAYA / HULU HULU BARA / HURU HURU SRI / SARA SARA / SIRI SIRI / SURU SURU / BUDHA YA BUDRA YA / BHODA YA BHODAYA / MAI TRIYE' / NILA GANTHA / TRISA RANA / BAYA MANA / SO HA / SITAYA / SO HA / MAHA SITAYA / SO HA / SITA YAYE' / SHO RAYA / SO HA / NILA GANTHA / SO HA / NILA KANTHE' PAN TALAYA / SO HA / MOBOLI SANGKA RAYA SO HA / NAMO RATANA TRAYAYA / NAMA ARRAYA / A VALO KITE' / SHO RAYA / SO HA / OM**SIDTRIN TU / MANTRA / PATAYE' / SO HA //**
บรรยายพระคาถามนต์มหากรุณาธารณีสูตร
  พระคาถามนต์มหากรุณา เป็นมนต์พระคาถาอันเกิดจากความเมตตากรุณาอันใหญ่ยิ่ง รวมทั้งความโปรดโลกโปรดสัตว์ ปฏิบัติธรรมบรรลุพระพุทธภูมิ ที่สำคัญอย่างยิ่งยอด อักษรหนึ่ง และประโยคหนึ่งในธารณีนี้ล้วนเป็นสัจธรรมที่จะเข้าถึงสัมมาสัมพุทธญาณ
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า หากว่าเหล่ามนุษย์และทวยเทพตั้งจิตสวดนามเรา พร้อมด้วยสวดนามพระอมิตาพุทธเจ้า แล้วสวดพระธารณีนี้คืนละ 5 จบ ก็จะดับ มหันตโทษจำนวน ร้อยพันหมื่นล้านกลับได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณานี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับพระพุทธเจ้าทั้ง 10 ทิศ จะยื่นพระกรมารับแล้วให้ไปจุติ ในพุทธเกษตรทุกแห่ง และจะเกิดโดยประกอบกุศล 15 ประการ ไม่ต้องด้วยทุมรณะ 15 ประการ คือ เกิดประกอบด้วยกุศล 15 ประการ คือ
1.  ที่ที่เกิดจะพบแต่กุศล 5
2.  เกิดในประเทศกุศล
3.  พบแต่ยามดี
4.  พบแต่มิตรดี
5.  ร่างกายประกอบด้วยอินทรีพร้อมมูล
6.  จิตเป็นธรรมโดยสมบูรณ์
7.  ไม่ผิดศีล
8.  ญาติบริวารมีความกตัญญู ปรองดองกัน สามัคคีกัน
9.  ทรัพย์สมบัติ โภคทรัพย์ มีสมบูรณ์ครบถ้วน
10.  มีผู้เคารพและให้ความช่วยเหลือเสมอ
11.  ทรัพย์สินที่มีอยู่ ไม่มีใครมาปล้นชิง
12.  คิดต้องการอะไร จะได้สมปรารถนา
13.  ทวย เทพ นาค ให้ความปกปักษ์รักษาอยู่เสมอ
14.  เกิดในที่ที่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์
15.  พระธรรมที่ได้ฟัง สามารถเข้าถึงแก่นสาร

ด้วยเหตุนี้ มหากรุณามนต์ ไม่เพียงแต่กำจัดภยันตรายและโรคภัยต่างๆ ดังกล่าวได้ ยังให้ความสำเร็จแก่การกุศลกรรมทุกสิ่งอย่าง พ้นจากความหวั่นกลัว ฉะนั้น เราจึงต้องสวดท่องด้วยความศรัทธาและจิตใจสะอาด จึงสามารถท่องด้วยมหากรุณาจิตของท่านพระโพธิสัตว์ หมั่นสวดเสมอ สามารถรักษาโรคทางใจและทาง กายได้ ยังสามารถให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องนี้สามารถพิสูจน์ได้จากประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น
มนต์มหากรุณาธารณีสูตร เป็นมนต์ศักดิ์สิทธิ์ทรง พลานุภาพอย่างยิ่ง พระภิกษุจีนเวลาจะทำน้ำมนต์หรือประกอบพิธีสำคัญก็ใช้มนต์บทนี้ ตามความประสงค์ ของผู้สวด เพื่อจะได้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว ป้องกันอัปมงคลทั้งหลายเข้าบ้านและยังป้องกันคุณไสยต่าง ๆ ด้วย มนต์บทนี้ผูกเป็นคาถา 84 ประโยค เป็นพระนามของพระแม่กวนอิม 84 ปาง
โพธิสัตว์กวนอิมอวตาร 84 ปาง ที่ควรทราบได้รวบรวมนำเสนอให้ทุกคนได้ศึกษาดังนี้
ภาพสัญลักษณ์แห่งพระมหาเมตตากรุณาแห่งองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ 84 ปาง เป็นภาพในการเสด็จมาโปรดสรรพสัตว์และการออกเสียงใต้ภาพ เป็นภาษาจีน ตัวอย่าง เช่น นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย (เสียงจีน) และ นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ.(เสียงธิเบต) เป็นต้น







ปางที่ 1
นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ.
นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
Na Mo He La Da Na Duo La Ye Ye
ภาคนิรมาณกาย
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ทรงถือลูกประคำ ออกมาคอยสังเกตดูเหตุการณ์ เพื่อหาช่องทางช่วยเหลือบรรดาสัตว์โลกทั้งหลาย ผู้ที่สวดมนต์ ปฏิบัติด้วยความเคารพ ศรัทธาโดยแท้จริง
ความหมาย
คำว่า นำมอ หมายถึง การนอบน้อมระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าให้เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจ
คำว่า ฮอลาตัน หมายถึง รัตนะ (การกราบไหว้บูชารัตนะให้เป็นที่พึ่ง)
คำว่า ตอลาเหย่ หมายถึง สาม
คำว่า เย หมายถึง นมัสการ (นอบนมัสการไตรรัตนะ ให้ครบทุกทิศ ทั้งสามภพนี้)
อรรถาธิบาย
ขอนอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม (พระไตรลักษณ์และไตรสรณะ) พระโพธิสัตว์ขอให้เราน้อมนอบถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งระลึกถึงแล้วบรรลุแจ้งชัดในจิต และมองเห็นสภาวะแห่งตน ทางที่จะสำเร็จ การปฏิบัติให้ถึงพระองค์จะต้องสวดมนต์พระคาถาด้วยความมีเมตตากรุณา และศรัทธา ไม่ควรสวดเสียงดัง เกรี้ยวกราด และเร่งร้อน ให้สวดช้าๆ

ปางที่ 2
นา.มา.อา.รยา.
นำ มอ ออ ลี เย
Na Mo Ou Li Ye
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ เป็นรูปพระองค์ทรงถือพระธรรมจักร ผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติตามด้วยความเคารพ
ความหมาย
คำว่า นำมอ หมายถึง การนอบน้อมรำลึกนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจ
คำว่า ออลี หมายถึง องค์พระอริยะเจ้า
คำว่า เย หมายถึง การกราบไหว้บูชานมัสการ ขอนอบน้อมพึ่งพิงองค์พระอริยะเจ้า
อรรถาธิบาย
ขอนอบน้อมนมัสการแด่องค์พระอริยะเจ้า ซึ่งเป็นผู้ละบาปและกุศลกรรมลงได้แล้ว พระโพธิสัตว์ทรงเน้นเรื่องปฏิบัติทางจิตให้ถูกต้องเพื่อให้เป็นรากฐานอันสำคัญ ต้องแจ้งชัดในจิต รู้สภาวะแห่งตนได้แล้ว ก็จะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เข้าสู่พระนิพพาน

ปางที่ 3
อ.วา.โล.กิ.เต.โซ.รา.ยา.
ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
Po Luo Jie Di Shuo Bo La Ye
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ ปางอุ้มบาตร เพื่อออกโปรดสัตว์ทั้งสามโลก ผู้ปฎิบัติจงเพ่งให้เห็นพระองค์ท่าน ก็สามารถให้สรรพสัตว์ได้มีอายุยืนยาวนาน
ความหมาย
คำว่า ผ่อลูกิดตี หมายถึง การเพ่งแสงสว่าง เพื่อพิจารณาในสิ่งต่างๆ เพื่อโปรดช่วยเหลือ
คำว่า ชอปอลา หมายถึง เสียงของโลกทั้งหลายให้เป็นอิสระ
คำว่า เย หมายถึง นอบน้อมนมัสการพึ่งพิง ,ขอคารวะพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์
อรรถาธิบาย
ขอคารวะองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ องค์พระโพธิสัตว์ทรงสงสารความทุกข์ของคน ซึ่งเกิดจากความหลงลืมขาดสติและลืมตัว ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการเวียนวายตายเกิด ยึดติดกับอินทรีทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผู้ปฏิบัติต้องปิดทวารทั้ง 6 แล้วมี ศีล สมาธิ ปัญญา หันมาปฏิบัติพระกรรมฐานและสมาธิ ไม่หันเหจิตไปตามวิสัยของ โลกที่มากระทบ

ปางที่ 4
โบ.ธิ.สัต.โต.ยา.
ผู่ ที สัต ตอ พอ เย
Pu Ti Sa Duo Po Ye
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นรูปพระอมงบาศโพธิสัตว์ กำลังโปรดสัตว์โพธิสัตว์
ความหมาย
คำว่า ผู่ที (โพธิ ) หมายถึง ผู้ที่ได้ตรัสรู้ รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว นำเอามาสั่งสอนปวงชนต่อไป
คำว่า สัตตอ หมายถึง ผู้มีชีวิตและอารมณ์ภายในจิตใจที่ใสสะอาด (ปราศจากราคีทั้งปวง)
คำว่า ผ่อเย หมายถึง ควรน้อมคารวะ ทั้งในพระธรรมและผู้ที่ตรัสรู้ทุกพระองค์
อรรถาธิบาย
หากมุ่งมั่นฝักใฝ่อยู่ในธรรมด้วยความตั้งใจอย่างลึกซึ้ง หมั่นระลึกให้ชัดแจ้ง น้อมนอบคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้ แก่ทุกชีวิต พระองศ์ทรงตักเตือนให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก ตื่นจากความหลับ (อวิชชา มัวเมาในกามคุณ 5) โดยเร็ว หันมาให้ปฏิบัติมหาธรรมมรรค อันเป็นเส้นทางสู่ธารณี หากได้ตั้งใจในธรรม หมั่นระลึกแจ้งในสภาวะดั้งเดิม ก็จะหลุดพ้นได้โดยง่าย

ปางที่ 5
ม.หา.สัต.โต.ยา
หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย
Mo He Sa Duo Po Ye
ภาคนิรมาณกาย
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นรูปกำลังสวดพระคาถาทรงประทับนั่งอยู่บนแท่นดอกบัวดอกใหญ่ หากปฏิบัติตามพระคาถานี้ ย่อมหลุดพ้นทุกข์
ความหมาย
คำว่า หม่อฮอ แปลว่า ใหญ่มาก (ความยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้ใดจะเทียบได้)
คำว่า สัตตอ แปลว่า ผู้กล้าหาญ (บรรดาสัตว์โลกผู้ที่มีความกล้าหาญทั้งปวง)
คำว่า ผ่อเย แปลว่า ควรคารวะต่อผู้มีความกล้าหาญ
อรรถาธิบาย
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ทรงประกาศพรพระธารณีสูตรให้นำไปปฏิบัติ สัตว์โลกหลงในอินทรี 6 และอารมณ์ ถ้าหากยึดเหนี่ยวมุ่งมั่นในอนุตรมรรค มีการปฏิบัติธรรม จะสามารถบุกน้ำข้ามทะเลแห่งห้วงทุกข์นี้ไปได้ และเป็นสุขชั่วนิรันดร์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

ปางที่ 6
ม.หา.กา.รุ.ณิ.กา.ยะ.
หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย
Mo He Jia Lu Ni Jia Ye
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปพระอัศวโฆษโพธิสัตว์ ซึ่งตรัสรู้อนุตตรธรรมด้วยตนเอง คือ ตรัสรู้เอง หลุดพ้นได้ด้วยพระองค์เอง ทั้งยังโปรดผู้อื่นให้เห็นแจ้งในอนุตตรธรรมนั้นด้วย และเมื่อผู้นั้นรู้แจ้งแล้วยังโปรดผู้อื่น
ความหมาย
คำว่า หม่อฮอ แปลว่า ใหญ่มาก
คำว่า เกียลู แปลว่า กรุณา
คำว่า หนี่เกีย แปลว่า ดวงจิต
คำว่า เย แปลว่า คารวะ (ควรคารวะต่อผู้ที่มีมหากรุณาในดวงจิต)
อรรถาธิบาย
ควรคารวะต่อผู้มีมหากรุณาอยู่ในดวงจิต เตือนให้ผู้ปฏิบัติต้องปล่อยวางจิตและกาย หลีกพ้นจากภาพลวงทั้งหลาย ไม่มีลักษณะแห่งมนุษย์ ไม่มีลักษณะแห่งตน บุคคล เรา-เขา จิตใจผ่องใสลดความโลภของตน ผู้ปฏิบัติต้องสามารถปล่อยวาง ลืม อารมณ์ต่างๆได้ ปฏิบัติอยู่ต่อเนื่องกัน ข้ามไปถึงฝั่งหลุดพ้นได้

ปางที่ 7
โอม
งัน
An
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปราชาแห่งเทพทั้งปวง จะต้องพนมมือฟังพระคาถาบทนี้ เทพเจ้าทุกชั้น พุทธเจ้าทุกองค์ล้วนเพ่งคำนี้และบรรลุสัมมาสัมพุทธิ
ความหมาย
คำว่า งัน แปลว่า นอบน้อม (การนอบน้อมพระโพธิสัตว์กวนอิม ทรงเป็นพระมารดาแห่งธารณีทั้งปวง) เป็นฐานสภาวะดั้งเดิมของมนุษย์ และยังมีความหมายว่าบูชา
ถวาย, ปลุกให้ตื่น, ฝึก, ธรรมกาย, นิรมาณกาย, สัมโภคกาย
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์นำสัจธรรมอันเป็นจุดศูนย์รวมที่แท้จริง ในพระเมตตากรุณาเพื่อจะปลุกให้มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้กลับฟื้นคืนสภาวะเดิม ที่มีอยู่ ถ้าชาวโลกถือ สัจธรรมนี้ ทวยเทพและภูตผีปีศาจ จะพนมมือคารวะและปกปักษ์รักษา พ้นจากอันตราย สำเร็จในมรรคผล แต่ผู้ปฏิบัติจะต้องตั้งมั่นอยู่ในศีล และต้องมีความสมบูรณ์ ในบุญวาสนา ประกาศพระธรรมอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลก จึงจะได้ผล

ปางที่ 8
สา.วา.ลา.วา.ติ
สัต พัน ลา ฮัว อี
Sa Bo La Fa Yi
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นท่านท้าวจตุโลกบาลและองค์เทพราช เพื่อโปรดพวกมาร ด้วยพระบารมี 6 อย่าง
ความหมาย
คำว่า สัตพันลา แปลว่า อิสระ
คำว่า ฮัวอี แปลว่า องค์พระอริยะเจ้า
อรรถาธิบาย
องค์อริยะเจ้าทรงเป็นผู้ได้รับความเป็นอิสระ พระองค์ท่านมีใจกายสะอาด เหล่ามารทั้งปวงจะเข้ามาทำร้ายไม่ได้ ท่านใดหวังจะให้ใจกายบริสุทธิ์ ต้องตั้งใจอยู่ในสัจธรรม ปฏิบัติตั้งมั่นอยู่ในศีล พระโพธิสัตว์ ต้องการสอนให้ผู้ปฏิบัติทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แก้ความผิดมาเป็นกุศลกรรม เป็นทางที่จะเข้าถึงวิสุทธิมรรค ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องกวาดล้าง ความโลภทางกายใจให้หมดสิ้น จึงจะเกิดเป็นปัญญาได้โดยง่ายและได้รับการคุ้มครองจาก ท่านท้าวจตุโลกบาลและเทพไท เทวาธิราช

ปางที่ 9
ศุ.ดา.นา.ตา.เซ.
ซู ตัน นอ ตัน เซ
Su Da Na Da Xia
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นท่านท้าวจตุโลกบาลและองค์เทพราช พร้อมทั้งองค์เทพทั่วไปเสด็จพร้อมด้วยเทพและภูตผีปีศาจบริวาร ในใต้บังคับบัญชา เพื่อชี้หนทางให้มนุษย์เลิกทำบาปหันไปทำกรรมดี
ความหมาย
คำว่า ซูตันนอตันแซ หมายถึง การปฏิบัติธรรม ต้องถือความสัตย์เป็นรากและพื้นฐาน ใช้ความเพียรเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เห็นความจริงแห่งบรรลุสู่อริยสัจ
อรรถาธิบาย
พระอริยเจ้าท้าวจตุโลกบาล ทรงถือว่าสัจจะเป็นฐานสำคัญ เพื่อช่วยเพิ่มพลังบารมี ได้ทรงใช้ความอภินิหารด้วยบารมีคุ้มครอง และทรงตักเตือนมวลมนุษย์ให้ตั้งใจมุ่งตรงไปในการปฏิบัติธรรม พยายามกำจัดความเคยชินต่อการทำบาป ให้หายไปจากสันดาน ในสัจจะนั้นจะไม่มีการหลอกลวง เมื่อเข้าใจ ก็จะเห็นความปลอดโปร่งเมื่อจิตปลอดโปร่งก็จะเกิดเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเปลี่ยน แปลง ก็จะมีการกลับกลายไปในทางที่ดีงาม

ปางที่ 10
น.โม.สกา.ตวา.นิ.มัม.อา.รยา.
นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
Na Mo Xi Ji Lie Duo Yi Mong Ou Li Ye
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นรูปพระนาคารชุนโพธิสัตว์ เป็นผู้ควบคุมและคุ้มครองผู้ปฏิบัติ ธรรมอย่างแท้จริง และปราบปรามเหล่ามาร (ศัตรูคู่อริ) ให้พินาศสิ้นสมดังมุ่งหวัง
ความหมาย
คำว่า นำมอ หมายถึง นอบน้อม
คำว่า สิดกิดลีตออีหม่ง หมายถึง ท่านใดสามารถปฏิบัติธรรมได้ ย่อมได้รับการคุ้มครองจากพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์
คำว่า ออลีเย หมายถึง การปฏิบัติธรรม จงอย่ารีบร้อนเพื่อให้ได้ผลในทันทีย่อมเป็นไปได้ยาก
อรรถาธิบาย
ควรที่จะน้อมนอบคารวะต่อองค์พระอริยะเจ้า ผู้ปฏิบัติต้องมีความพากเพียร มีมานะพยายาม มีจิตใจมั่นคง อย่าเร่งรีบในการปฏิบัติ ต้องทำใจให้ว่างเข้าถึงองศ์แห่ง พระคัมภีร์ ด้วยจิตที่เป็นหนึ่งเดียว หมั่นเพียรในการปฏิบัติตามหลักธรรม เมื่อคิดจะข้ามพ้นจากโลกีย์วิสัยคือห้วงแห่งโอฆะ ควรปฏิบัติให้ถูกวิธี คิดจะทำประโยชน์แก่ สรรพชีวิต เช่นนี้ ก็จะมีโพธิสัตว์วัชรธร คอยปกปักษ์รักษาการกระทำไม่มีขัดข้องในทุกๆ กรณี มีความสะดวกเหมาะสมความปรารถนาทุกประการ

ปางที่ 11
อ.วา.โล.กิ.เต.โซว์.รา.ลัม.ตา.บา.
ผ่อ ลู กิต ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ
Po Lu Jie Di Shi Fu La Leng Tuo Po
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นองค์พระสัมโภคกาย แห่งองค์พระไวโรจนะพุทธเจ้า อันเป็นทิพยภาวะ มีรัศมีรุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป เพื่อลงมาโปรดสัตว์ใน จำนวนที่เป็นอมิต
ความหมาย
คำว่า ผ่อลูกิตตี แปลว่า ธรรมกับจิต ธรรมกับจิต ต้องประสานกันเป็นหนึ่งอันเดียวกัน
คำว่า สิดฮูลา แปลว่า ท่องเที่ยวไปในแดนไกล ตามจิตมุ่งหวังอย่างอิสระ
คำว่า เลงถ่อพอ แปลว่า เนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนให้ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องจงใจมุ่งก้าวหน้าไป ในการนั่งเพ่งกษิณสมาธิจิต เป็นการอบรมฝึกฝนจิต ให้กายและจิตรวมเป็นหนึ่งเดียว เวลาปฏิบัติ ต้องนั่งตัวตรง เพื่อควบคุมจิตให้มีสมาธิได้ดียิ่งขึ้น ก็จะได้พบแสงสว่างอันสมบูรณ์ ศัตรูหมู่มารไม่สามารถมารบกวนได้ จะพบความสำเร็จทุกสิ่งดังประสงค์มุ่งมาดปรารถนา

ปางที่ 12
น.โม.นี.ลา.เกน.ถา.
นำ มอ นอ ลา กิน ซี
Na Mo No La Jin Chi
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นองค์พระไวโรจนะพุทธเจ้า โปรดบันดาลให้เหล่าสัตว์โลกทั้งหลายมีความสุขสำราญ
ความหมาย
คำว่า นำมอ หมายถึง นอบน้อม
คำว่า นอลากินชี หมายถึง การคุ้มครองผู้กระทำความดี และผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พร้อมนักปราชญ์ที่มีความเมตตากรุณาอย่างแท้จริง ขององค์พระมหาโพธิสัตว์
อรรถาธิบาย
ด้วยความเมตตากรุณา ขององค์พระมหาโพธิสัตว์ เป็นคาถาที่บอกกล่าวแก่ชาวโลก ให้ยึดมั่นอยู่ในพระไตรสรณคมน์ จะต้องปฏิบัติตามด้วยตนเองและจิตใจให้มีมนุษยธรรม ท่านใดปฏิบัติธรรมจะต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีเป็นแกนนำในทุกแง่ทุกมุม เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังรับช่วงไปและดำเนินรอยตาม ท่านใดปฏิบัติตามพระพุทธองค์และ พระธรรม ต้องมีความเมตากรุณาและโพธิจิตอย่างมาก และเป็นประโยชน์ในการโปรดสัตว์ รักษาพระธรรมยิ่งกว่าชีวิต ปฏิบัติได้อย่างที่กล่าวนี้ ได้ชื่อว่าไม่สมความตั้งใจ ของพระโพธิสัตว์ จะต้องศึกษาหาแนวทางตามอย่างพระโพธิสัตว์ มีจิตใจที่กว้างขวางในระหว่างที่พึงปฏิบัติด้วยการโปรดสัตว์นั้นว่า จะต้องเป็นหน้าที่ของตน ต้องคิดและ ตั้งจิตเอาไว้เสมอ

ปางที่ 13
ศรี.ม.หา.ปา.ตา.ศา.มิ.
ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม
Shi Li Mo He Ba Duo Suo Mi
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระรูปเมษ ศีรษะเทพเจ้า
ความหมาย
คำว่า ซีลีหม่อฮอ หมายถึง ความเมตตากรุณา อันยิ่งใหญ่ สามารถปลดทุกข์ให้เกิดความสุข
คำว่า พันตอซาเม หมายถึง ผู้ที่มีบุญวาสนา จะได้รับการคุ้มครองจากองค์พระโพธิสัตว์และเทพเจ้าเบื้องบน พวกมารและอริราชศัตรูทั้งหลายไม่สามารถมารบกวนได้
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงเล็งเห็นว่าชาวโลก ถือยศ ถือศักดิ์ ถือความรวย ถือความเป็นใหญ่ ในการมีชื่อเสียงและอิทธิพล ด้วยเหตุผลเนื่องมาจากการหาความสุขให้กับตนเอง ด้วยกิเลสความโลภ ไม่มีความเพียงพอในชีวิตและผลที่พึงได้ องค์พระโพธิสัตว์ จึงทรงกล่าวคาถานี้ ให้ผู้ปฏิบัติผ่อนใจในทางโลก โน้มน้าวจิตใจหันมุ่งไปสู่ทางมรรคผล เมื่อจิตว่างจากทางโลกหมดสิ้นแล้ว จิตในทางธรรมก็จะเจริญขึ้น

ปางที่ 14
สวา.โต.ตา.ศุ.บัม
สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง
Sa Po Ou Ta Dou Shu Peng
ภาคนิรมาณกาย
อมฤตโพธิสัตว์ ก็คือ พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ มือหนึ่งพระองค์ทรงถือกิ่งทับทิม อีกมือหนึ่งถืออมฤตกุณฑี(หม้อน้ำมนต์) เพื่อจะออกโปรดสัตว์โลก
ความหมาย
คำว่า สัต หมายถึง การได้เห็น (ได้รู้ได้เห็นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง)
คำว่า พอ หมายถึง เสมอภาค
คำว่า ออ หมายถึง พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์
คำว่า ทอเตาซีพง หมายถึง ธรรมไม่มีขอบเขต
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ ทรงมีความหาเมตตากรุณาประทานพระคาถาบทนี้ ให้ทุกคนได้สวดท่องพระมนต์อันสำคัญ และปฏิบัติธรรมกันได้โดยสะดวกสบาย และจะสามารถบรรลุสู่ พระพุทธภูมิได้โดยเสมอกันได้สำเร็จ

ปางที่ 15
อะ.ศี.ยัม.
ออ ซี เย็น
Ou Shi Yun
ภาคนิรมาณกาย
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นยักษ์เหาะเหินมาตรวจตราไปทั่วทุกๆ ทิศ เพื่อพิจารณาความผิดถูก พระองค์จะได้คอยตักเตือนให้มนุษย์หันมาทำความดี ละเว้น
จากการกระทำความชั่ว
ความหมาย
คำว่า ออซีเย็น หมายถึง สรรพสัตว์และผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับการยกย่องชมเชย ผู้ทำบาปจะต้องสำนึกและขอขมาโทษ ให้พระองค์ทรงโปรดประทานเมตตากรุณา
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์เกิดความห่วงใยและสงสารในสรรพสัตว์ที่มีจิตเป็นอกุศล ชอบในการกระทำความชั่ว มีความทุกข์ พระองค์ทรงเกรงว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายจะมีความเบื่อหน่าย ต่อการสร้างบุญสร้างกุศล ท่านพญายักษ์เหาะลงมาสำรวจทั่วทุกทิศ และแสดงอภินิหาร เพื่อเป็นการตักเตือนให้แก้ไขการกระทำกลับใจมาสร้างความดี ให้ละบาปและ
มาบำเพ็ญบุญแทน

ปางที่ 16
สวา.สัต.โต.นะ.โม.ปา.สัต.โต.นา.มา.บา.คา.
สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ เค
Sa Po Sa Duo Na Mo Po Sa Duo Na Mo Po Qie
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปเทพเจ้าภคติ รูปร่างใหญ่โต ผิวกายดำสนิท ถือโตมรเป็นศาสตราวุธ (ถือมีดเตรียมปราบมาร)
ความหมาย
คำว่า สะพอสะตอ หมายถึง พระพุทธธรรมอันไม่มีขอบเขตที่สิ้นสุด สรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ล้วนจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้
คำว่า นอ มอ พอ สะตอ หมายถึง พุทธธรรมเป็นความเสมอภาค ไม่แบ่งแยกชั้นวรรณะเป็นสูงหรือต่ำ และมากน้อย
คำว่า มอพอเค หมายถึง พุทธธรรมมีความยิ่งใหญ่ไพศาล ผู้ที่ปฏิบัติตาม อันตรายไม่เกิด
อรรถาธิบาย
ไม่ว่านักปราชญ์ หรือคนโง่เขลา คนหรือสัตว์ เมื่อสวดบูชา ล้วนสามารถหลุดพ้นได้ พึงปฏิบัติตามด้วยความมุ่งมั่นและจริงใจด้วยความเคารพ พระโพธิสัตว์จะทรง ประทานความเมตตากรุณา ทรงอภินิหารให้มองเห็นว่า ปรากฏให้เห็นเป็นพันกรพันเนตร ลงมาโปรดให้พ้นทุกข์ภัย

ปางที่ 17
มา.บา.เต.ตุ.
มอ ฮัว เตอ เตา
Mo Fa Te Dou
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูป กุนตาลี ทรงถือจักรมือหนึ่ง และทรงถือบ่วงบาศเป็นศาสตราวุธ มีตา 3 ดวง น่าเกรงขามยิ่งนัก
ความหมาย
คำว่า มอฮัวเตอเตา หมายถึง การสั่งสอนตักเตือน ให้ผู้ตั้งใจถือในการปฏิบัติในสรรพธรรมให้เกิดความว่าง ใช้ปัญญาดับกิเลสให้หมดสิ้นไป
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ได้ทรงตักเตือน ให้ผู้ปฏิบัติถือพระสัทธรรมให้เป็นสูญ ไม่ข้องแวะ ไม่ยึดถือติดอยู่ในรูป และไม่ยึดถือติดอยู่ในจิต ถือเอาสัจธรรมเป็นใหญ่ ต้องละความคิดวิตกกังวล ดับความโกรธ ความโลภ ความหลง โดยใช้หลักแห่งปัญญา ดับกิเลสให้หมดสิ้นจนเกิดจิตว่างจิตสงบ ให้อยู่ในโลกนี้โดยสันติสุข


ปางที่ 18
ตา ยา.ถา.
ตัน จิต ทอ
Da Zhi Ta
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูป พระอรหันต์
ความหมาย
คำว่า ตันจิตทอ หมายถึง เป็นนามแห่งพระโพธิสัตว์ เป็นมนต์คาถาและความกรุณาจิต พีชะ หัสตมุทร ปัญญาจักษุอัสน เพื่อนำทางเข้าถึงธรรมทั้งหลาย ด้วยความศรัทธา
โดยแท้จริง
อรรถาธิบาย
ด้วยความหมายแห่งศรัทธาด้วยใจจริง ต่อเนื่องกับจิต ยังผลให้จิตสอดคล้องต้องกันกับสรรพธรรม เพื่อจะคอยกำจัดออกจากความวุ่นวาย เพราะถ้าเกิดความขัดแย้งกับ พระธรรมขึ้น ด้วยใจคิดไม่บริสุทธิ์ เกิดความคิดในทางโลกขึ้นมา จะไม่อาจพบความสุขใดๆได้เลย

ปางที่ 19
โอม อ.วา.โล.กา.
งัน ออ พอ ลู ซี
An Ou Po Lu Xi
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ทรงประทับนั่งขัดสมาธิพนมมือตรงระหว่างหน้าอกแสดงถึงความเมตตา กรุณา เพื่อจะให้เป็นความสุขช่วยปลดเปลื้องความ ทุกข์ของสรรพสัตว์ที่อยู่ในโลก
ความหมาย
คำว่า งัน(โอม) หมายถึง นอบน้อม, เป็นบทนำ
คำว่า ออพอลูซี หมายถึง องค์พระโพธิสัตว์ ผู้ยึดถือในพระธรรมซึ่งเป็นผู้นำแห่งความบริสุทธิ์ จิตสะอาดปราศจากราคี มีความสดใสไม่มีราคะปนเปื้อน ถือหลักปฏิบัติด้วย
ใจเด็ดเดี่ยว
อรรถาธิบาย
ผู้ปฏิบัติธรรม ต้องยึดถือในหลักการปฏิบัติ ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวต่อการก่อกวนของเหล่ามารทั้งมวล(กิเลส ) หากสามารถตั้งจิตข่มจิต สำรวมจิตทางกาย วาจา ละทิ้งโลกียวิสัยทั้งหมด ก็จะได้เข้าถึงพุทธสภาวะที่มีอยู่ดั้งเดิม ถ้าสามารถมีความสงบนิ่งอยู่ทุกขณะภายในจิต ไม่มีการเคลื่อนไหวในจิต เกิดความสงบนิ่ง ก็จะมีความสำเร็จในธรรมโดยไม่รู้สึกตัว พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมทั้งพระโพธิสัตว์ได้หลุดพ้นในขณะที่อยู่ในโลกกิเลสและเต็มไปด้วยความเสื่อม

ปางที่ 20
โล.กา.เต.
ลู เกีย ตี
Lu Jia Di
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นร่างพระมหาพรหมเทพราช ออกโปรดสัตว์และคอยสอดส่องดูแลโดยเฉพาะสรรพสัตว์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ความหมาย
คำว่า ลูเกียตี หมายถึง การเป็นอิสระ มีแสงสว่างรอบพระวรกาย เป็นโลกนารถ มีกุศลจิตสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง มีการเข้าร่วมกับดินฟ้าอากาศเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ได้กล่าวสั่งสอนตักเตือนสรรพสัตว์ ให้รักษาจิตเอาไว้ให้เป็นกุศล อย่าทำลายตนเองโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และต้องใช้ความระมัดระวังกายและจิตตลอดเวลา จงสวดมนต์คาถาอย่างสม่ำเสมอ ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามไม่ให้หลงผิด (เห็นผิดเป็นชอบ) ไม่ให้คิดหลงลืมได้แม้แต่น้อย และทำจิตให้บริสุทธิ์

ปางที่ 21
กา.ลา.ติ.
เกีย ลอ ตี
Jia Lu Di
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นร่างของเทพเจ้า เพื่อคอยช่วยเหลือสรรพสัตว์
ความหมาย
คำว่า เกียลอตี หมายถึง ผู้ปลดเปลื้องความทุกข์ มีความกรุณา ผู้มีจิตในธรรม ด้วยมรรคอันเที่ยงแท้มั่นคง มีสติปัญญาอย่างใหญ่หลวง
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ท่านทรงมีพระเมตตาจิต กรุณาจิต ชักชวนให้มวลมนุษย์ได้ปฏิบัติธรรม เมื่อจิตมีความสงบ ว่าง เพียงพอ ย่อมจะสามารถเปลี่ยนจากร้ายกลายเป็นดี เปลี่ยนจิตบาปเป็นจิตกุศลได้ โดยมีหลักเกณฑ์ภายในจิตใจ



ปางที่ 22
อี.ศี.รี.
อี ซี ลี
Yi Xi Li
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูป องค์เทพเจ้ามเหศวรเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปรากฏว่าพระองค์นำทัพเทพยดา ลงมาโปรดเหล่าสัตว์
ความหมาย
คำว่า อีซีลี หมายความว่า พระองค์ทรงกระทำตามโอวาท ไม่ให้มีจิตใจที่คิดผิดและหลงผิดมัวเมามากไปด้วยความโลภที่เป็นต้นเหตุ
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ผู้ตั้งอยู่ในความเมตตากรุณา คอยช่วยอำนวยประโยชน์สุขใหญ่น้อยแก่มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งปวง พร้อมทั้งในโลก สรรพสัตว์ใดที่ได้รับความทุกข์ไม่เป็นสุข พระโพธิสัตว์ท่านจะตามไปช่วยตามเสียงที่ร้องขอนั้นๆ

ปางที่ 23
ม.หา.โบ.ธิ.สัต.โต.
หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
Mo He Pu Ti Sa Duo
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูป พระโพธิสัตว์ ใช้ความเมตตากรุณา อันบริสุทธิ์ เป็นพระคาถาที่มีความเป็นอนัตตา เพื่อจะได้นำเอามาอบรมสั่งสอนผู้ที่ปฏิบัติ
ความหมาย
คำว่า หม่อฮอ หมายถึง ความยิ่งใหญ่ไพศาลในพระพุทธธรรม ทุกคนพึงปฏิบัติกันได้ ด้วยหลักเหตุผล
คำว่า ผู่ที หมายความว่า โลกนี้เป็นความสูญ มองเห็นโลกที่พวกเราได้อาศัยอยู่นี้เป็นจุดศูนย์กลาง
คำว่า สัตตอ หมายถึง อนัตตาธรรม พึงปฏิบัติได้ มองเห็นสรรพธรรมเป็นศูนย์กลาง
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงชี้แนะให้เห็นกันอย่างชัดเจนแล้วว่า ในบรรดามนุษย์และสรรพสัตว์ จะต้องมองเห็นความรุ่งเรืองแห่งลาภ ยศ สรรเสริญและสิ่งทั้งหลายเป็นสูญ มองให้เห็น เป็นเงา ลวงตา ทำจิตให้มั่นคงแน่วแน่ โดยอย่างยิ่งผู้เริ่มปฏิบัติ จะต้องมีจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ พยายามข้ามไปจากความทุกข์และกองกิเลสอันแสนที่จะเลวร้าย พยายาม
หาทางหลุดพ้นให้จงได้

ปางที่ 24
สา.โบ.สา.โบ.
สัต พอ สัต พอ
Sa Po Sa Po
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปคนธาลัยโพธิสัตว์ ได้นำทหารและทัพภูตผีทั้ง 5 ทิศ และผู้ติดตามมาโปรดสรรพสัตว์
ความหมาย
คำว่า สัตพอ หมายถึง พระพุทธธรรมมีความเสมอภาค ช่วยทั้งอำนวยประโยชน์สุขแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ท่านที่ประกอบบุญกุศล ย่อมได้รับความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ บันดาลความสุข และประโยชน์ให้แก่เหล่าสรรพสัตว์พร้อมมวลมนุษย์ทั้งหลาย ครั้งที่พระองค์ได้เสด็จลงมาโปรดสัตว์โดยทั่วกัน มิทรงให้กลัวความยาก ลำบากและหวาดหวั่นต่อทุกข์เข็ญ จงมุ่งไปก้าวไปอย่างไม่หยุดหย่อน โดยอย่างยิ่งผู้ที่พึงยึดถือปฏิบัติในธรรม พระองค์ทรงโปรดสัตว์ไปเรื่อย จึงสามารถทำประโยชน์
แก่สัตว์โลกได้ ผู้ปฏิบัติหากถือความเกิดดับอันเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติ ไม่หลงติดรูปลักษณะทางโลก ผู้ที่เริ่มต้นด้วยความเพียรที่จะบำเพ็ญ แต่เมื่อปฏิบัติ ไปนานวันเข้า ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย ละความตั้งใจในการกระทำนั้นไป เกิดวิตกกังวลและวิจิกิจฉาลังเลสงสัยเกิดขึ้นอยู่ ย่อมไม่มีทางที่จะหลุดพ้นบรรลุสำเร็จในการปฏิบัติธรรมได้

ปางที่ 25
มา.รา.มา.รา.
มอ ลา มอ ลา
Mo La Mo La
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏพระวรกายเป็นพระปัณทรวาสินีโพธิสัตว์ มือขวาทรงถือดวงแก้วมณี มือซ้ายทรงจูงเด็ก แสดงให้เห็นว่าสัตว์โลกทั้งหลายจะได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์ และยัง
แนะนำสั่งสอนให้พึงปฏิบัติ เพื่อจะได้มีอายุอันยืนยาวที่สุด
ความหมาย
คำว่า มอลา หมายถึง ผู้พึงได้ปฏิบัติในธรรมจะได้มีมโนรถแก้วมณีในส่วนที่ใส่สะอาดบริสุทธิ์
คำว่า มอลา (คำที่สอง) หมายถึง แก้วมณีอันเป็นมโนรถที่ใส่สะอาดบริสุทธิ์ จะเพิ่มรัศมีของแก้วแจ่มใสไม่มีอะไรขัดข้อง
อรรถาธิบาย
ผู้ที่พึงปฏิบัติธรรม เมื่อต้องการแก้วมณีนี้เมื่อใด จะต้องสวดท่องพระคาถานี้ ให้มีความคิดสำนึกที่บังเกิดขึ้นมาจากจิตใจ ผู้ปฏิบัติจะต้องกำจัดความคิดอันเป็นอกุศล จิต ที่ฟุ้งซ่าน ให้ระงับดับความวิตกกังวลนั้น เพียรพยายาม เสาะหาสัจธรรมความจริงภายในจิต แล้วจึงทำจิตให้ใสสะอาด ไม่มีความห่วงใยให้เกิดขึ้นในดวงจิตนี้เลย

ปางที่ 26
มา.ศิ.มา.ศิ.ริ.ดา.ยุ.
มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน
Mo Xi Mo Xi Lie Tuo Yun
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏพระวรกายเป็นพระอมิตาภาพุทธเจ้า เมื่อสิ้นลมและสำเร็จความประสงค์แล้ว ได้สมโภคกายนี้แล้ว ต่างไปบังเกิดในสุขขาวดีภูมิ คือ ภูมิที่มีความสงบสุข
ความหมาย
คำว่า มอซี หมายถึง ได้รับความมีอิสระทันที หมายความว่า ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดและโอกาสใด ที่จะไม่เป็นอิสระ
คำว่า ลีทอยิน หมายถึง ผู้ปฏิบัติเมื่อสำเร็จได้ในชั้น วชิรธรรมกาย ถึงกับได้รับอาสน์ดอกบัวรองรับนั้น
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์หวังให้ทุกคน รวมทั้งสรรพสัตว์ ได้เร่งรีบในการปฏิบัติธรรม ท่านใดมีความประสงค์ที่จะกระทำจิตและกายให้สะอาดหมดจด จงพยายามกระทำให้จิตว่าง ย่อมสามารถบรรลุผลได้ใน วชิรกาย แห่งความเป็นอมต ไม่มีวันเสื่อมถอยลงไปได้เลย แต่คนส่วนมากยังตกอยู่ในกามคุณโภคทรัพย์และสุราเมรัย ทั้งยังติดอยู่ในชื่อเสียง ลาภยศ สรรเสริญ จึงไม่มีโอกาสที่จะสำเร็จเป็นพุทธะ

ปางที่ 27
คู.รู.คู.รู.คา.มัม.
กี ลู กี ลู กิด มง
Ju Lu Ju Lu Jie Mong
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏพระวรกายเป็นอากาศกายโพธิสัตว์ พระองค์ทรงนำกองทัพเหล่าทวยเทพจำนวนหมื่นโกฏิ เพื่อโปรดสัตว์ที่เป็นอมิตา ทั้งหมด
ความหมาย
คำว่า กีลู หมายถึง พึงมุ่งมั่นตั้งใจคิดปฏิบัติธรรมนั้นๆ ย่อมสามารถบันดาลให้เทพเจ้า เสด็จลงมาปกปักษ์รักษาคุ้มครองป้องกัน
คำว่า กิดมง หมายถึง ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นสร้างสมบุญบารมี เพื่อเป็นจุดเริ่มและพื้นฐานในการบรรลุสู่มรรคผล
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ ทรงสั่งสอนและตักเตือนให้ผู้ปฏิบัติธรรมที่มีความตั้งใจ เพียงมีจิตและคิดอันเป็นกุศลเกิดขึ้น เทพเจ้าท่านจะเมตตาประทานพรอันเป็นมงคลให้มาช่วยเหลือในการกระทำนั้น อำนวยให้การกระทำให้เกิดผลสำเร็จ ถ้าเราสามารถหมั่นสร้างสมบุญวาสนาและการปฏิบัติธรรมอย่างมั่นคงแน่วแน่ ไม่เปลี่ยนแปลงอยู่เนืองๆ ก็จะได้ พระธรรมกายอันประกอบด้วยบุญกุศล ทั้งยังสามารถสำเร็จผลได้ในเร็ววัน

ปางที่ 28
ตู.รู.ตู.รู.บา.ศี.ยา.ติ.
ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี
Du Lu Du Lu Fa She Ye Di
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นพระอุครโพธิสัตว์ ขณะคุมทหารของกองทัพมยุรราช ออกปราบเหล่ามารทั้งหลายให้หมดไป
ความหมาย
คำว่า ตูลู หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะต้องยึดให้มั่น ตั้งใจปฏิบัติ ไม่ลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถีย์ ให้ตั้งใจปฏิบัติโดยตรง
คำว่า ตูลู หมายถึง มีจิตที่บังเกิดเป็นสมาธิ แล้วทำจิตให้สงบและว่าง ผู้ที่มุ่งปฏิบัติย่อมมีความแน่วแน่ มั่นคง
เสมอไป
คำว่า ฟาเซเยตี หมายถึง ความบริสุทธิ์ผุดผ่องและสะอาดอย่างยอดเยี่ยม สามารถควบคุมจิตให้พ้นจากกิเลสทั้งหลาย ยัง สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ได้ทรงอบรมสั่งสอนที่จะมุ่งให้ผู้ปฏิบัติจำได้อย่างแม่นยำ และจะต้องรู้แจ้งเห็นจริงตามหนทางในการเข้าถึงสรรพธรรม เพื่อจะช่วยให้ก้าวไปได้อย่างรวดเร็ว ด้วยจิตใจอันมั่นคงสมบูรณ์ ไม่เบื่อหน่าย ท้อใจ เลิกไปเสียก่อนกลางคันในการปฏิบัติ

ปางที่ 29
ม.หา.บา.ศี.ยา.ติ.
หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี
Mo He Fa She Ye Di
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นรูปแม่ทัพมหาพละ มือขวาทรงถือคทา คอยมาคุ้มครองสรรพสัตว์ มีจิตที่เพียรปฏิบัติธรรมด้วยพระองค์ไม่ยอมให้ได้รับอันตรายจากหมู่มาร
ความหมาย
คำว่า หม่อฮอฮัวเซเยตี หมายถึง ธรรมอันไพศาลแห่งสัจธรรมการเกิดและการดับ ผู้มุ่งปฏิบัติจะไม่มีการตกอยู่ในห้วงของทุกข์ภัย
อรรถาธิบาย
พระคาถานี้ กำจัดการเข้าใจผิด ให้ปล่อยวางที่ใจ จงอย่าเห็นแก่ตัว จงอย่าเห็นแก่กิน จงอย่าเห็นแก่ได้ จงอย่าเห็นแก่ขอ ให้มองเห็นด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ให้คิดที่จะกำจัด ความโลภ โกรธ หลง ออกไปให้พ้นจากจิตสันดาน ที่อยู่ในรากฐานแห่งดวงจิตให้ระงับไปในทันใด เมื่อปฏิบัติจนดวงจิตปราศจากอารมณ์ขุ่นมัว แล้วต้องการในมรรคผล
บรรลุ พุทธก็จะเกิดขึ้นและอยู่ภายในจิตเราเอง

ปางที่ 30
ดา.รา.ดา.รา.
ทอ ลา ทอ ลา
Tuo La Tuo La
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นพระมหาบุรุษ ผู้มีความเพียรบำเพ็ญทุกข์กิริยาอย่างสงบ
ความหมาย
คำว่า ทอลา ทอลา หมายถึง เป็นธารณีจิต เป็นฝุ่นละอองที่สามารถปกปิดกิเลสภายในจิต และจะมาบดบังแสงสว่างแห่งธรรมในจิตตนเอง หากจิตใจยังขุ่นมัว เปรียบได้
กับว่าสภาวะของจิตยังมืดมน เมื่อทำจิตให้แจ่มใสไม่มีกิเลสที่เป็นฝุ่นละอองมาเกาะมาคอยบดบังจิตใจได้แล้ว จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้
อรรถาธิบาย
ดวงจิตที่มีกิเลส ขุ่นมัวจากฝุ่นละอองที่มาเกาะจิตใจ ทำให้หลงทาง และปกปิดบดบังจิตที่เป็นธรรมในสภาวะเดิมแห่งตน ย่อมมีมารร้ายมาราวี เข้ามายึดครองจิตตน ทำให้คิดผิดหลงทางจึงไม่สามารถสอดส่องมองเห็นธรรมได้ หากเรากำจัดมารไม่ให้มีกิเลสที่เป็นฝุ่นละอองเข้ามาปกปิดบดบังจิตใจแล้ว จะได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น พรหมกันได้

ปางที่ 31
ดิ.ริ .ณี.
ตี ลี นี
Di Li Ni
ภาคนิรมาณกาย
พระโพธิสัตว์ ทรงนั่งประทับบนหลังสิงห์ราช เพื่อลงมาทดสอบการศึกษาพระธรรมและการปฏิบัติของเหล่ามวลมนุษย์
ความหมาย
คำว่า ตี หมายความว่า โลก
คำว่า ลี หมายความว่า สรรพสัตว์ที่สามารถรับรู้ในการโปรดของพระองค์ท่านได้
คำว่า นี หมายความว่า พระพรหมจาริณีที่ปฏิบัติธรรมอยู่อย่างสงบ
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ได้ทรงกล่าวแสดง โปรดให้หญิงสาวหันมาปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องถูกวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นสตรีทุกเพศทุกวัย ทุกระดับชั้น ควรหันมารีบเร่งในการปฏิบัติ ธรรม เพื่อจะได้ช่วยให้บรรลุผล สมความตั้งใจแห่งองค์พระโพธิสัตว์ หากใครได้ปฏิบัติได้ดีแล้ว ปฏิบัติชอบแล้ว อย่างสมบูรณ์ด้วยดี องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและ เทพยดาทั้งหลาย เหล่าครุฑาและเหล่าท่านพญานาค จะคอยคุ้มครองโดยรอบ ซึ่งองค์พระโพธิสัตว์จะทรงแปลงกายเป็นสตรี มีถึง 40 มือ มาคอยปราบมารร้าย ให้เหล่าสตรีได้ข้ามไปถึงฝั่งนิพพานได้โดยเร็ว

ปางที่ 32
โซว์.รา.ยา.
สิด ฮู ลา เย
Shi Fu La Ye
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นพระคำรามโพธิสัตว์ มือหนึ่งถือคทาทองเป็นศาสตราวุธ แบกเอาไว้บนบ่า เพื่อทำหน้าที่ในการปราบปราม
ความหมาย
คำว่า สิดฮูลาเย หมายความว่า เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์เพียบพร้อมแห่งสภาวะเดิมแล้ว จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ได้ประกาศพลังอันยอดเยี่ยมแห่งพระธรรม ผู้ที่สามารถปล่อยวางสภาวะทางโลก ไม่ก่อเรื่องยุ่งยากวุ่นวายขึ้น จิตใจย่อมใสสะอาด สามารถสำเร็จเป็นพีชะ แห่งพุทธิ อันมีแสงเปล่งปลั่งไปด้วยแสงรัศมี อีกทั้งยังสามารถปรากฏกายไปแสดงธรรมได้ทุกแห่งหน เพื่อทำการโปรดสัตว์สืบต่อไป

ปางที่ 33
จา.ลา.จา.ลา.
เจ ลา เจ ลา
Zhe La Zhe La
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นพระหักหาญโพธิสัตว์ มือถือสุวรรณจักร เพื่อโปรดสั่งสอนและตักเตือนเหล่ามารให้มานอบน้อมต่อพระศาสนา
ความหมาย
คำว่า เจลาเจลา หมายถึง เสียงคำรามอันดัง สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้ากระหึ่มไปทั่วทุกสารทิศ เนื่องด้วยอำนาจ แห่งความโกรธ จึงแสดงอาการ
ดุออกมาให้เห็น
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงเล็งเห็นว่า สรรพสัตว์ถูกชักจูงไปตามเหล่ามาร ไม่สามารถหลุดพ้นได้ จึงแสดงความโกรธเกรี้ยวกราด เพื่อโปรดสัตว์เหล่านั้นให้หลุดพ้น เป็นการ ห้ามปรามเหล่าผู้ปฏิบัติ ให้พึงปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์และจริงใจ มารในที่นี้คือ ความโลภ โกรธ หลงของตนเอง จึงต้องอบรมสั่งสอนแนะนำ ให้ผู้พึงปฏิบัติหมั่นฟัง พระสัจธรรมบ่อยๆ เพื่อทำลายความหลงผิด ธรรมะเหมือนกับฟ้าร้องคำรามไปทั่วสารทิศ เสียงนั้นดังก้องขึ้นไปถึงชั้นพรหม เมื่อเหล่ามารร้ายได้ยินศัพท์พระคาถานี้ ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว

ปางที่ 34
มา.มา.บา.มา.รา.
มอ มอ ฮัว มอ ลา
Mo Mo Fa Mo La
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปพระอภิจารกมารวชิร มือถือสุวรรณจักร คอยคุ้มครองสัตว์โลกให้มีความเป็นสิริมงคล
ความหมาย
คำว่า มอมอ หมายถึง การปฏิบัติในสิ่งที่ดีและการกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
คำว่า ฮัวมอลา หมายถึง ธรรมะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีประโยชน์มาก มีความลึกซึ้งไม่สามารถประเมินค่าได้ เพราะเป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดจะเท่าเทียม
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงแสดงธรรมด้วยความตั้งใจโปรดสัตว์ ด้วยความเมตตาจิต คอยคุ้มกันปกป้อง และให้ผู้มุ่งปฏิบัติได้รับสิ่งดีงามอันเป็นมหามงคล ได้ไปเกิดในพุทธภูมิ ทุก ๆ ชาติ ไม่ต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสาร ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ทุกชาติไป ต้องรับทุกข์ทรมาน

ปางที่ 35
มุ.ดิ.ลิ.
หมก ตี ลี
Mo Die Lie
ภาคนิรมาณกาย รูปพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ ทรงยืนพนมมือ
ความหมาย
คำว่า หมกตีลี หมายถึง หลุดพ้น
อรรถาธิบาย
การทำจิตให้สะอาดผ่องใส ด้วยการสวดมนต์ท่องบ่นคาถาพระธารณีเงียบๆ เป็นประโยคหนึ่งที่พระโพธิสัตว์สอนให้ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเริ่มต้นด้วยการปล่อยวางจิตใจ ให้ห่างจากภาวะทางโลก กระทำจิตให้สำรวมตลอดวัน ให้จิตเป็นหนึ่ง เพื่อปลดเปลื้องสรรพกิเลส ไม่ให้มีความโลภและความเห็นแก่ตัวอยู่ในสันดานเลย ผู้ที่เจริญ พระคาถานี้เป็นนิจ พระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ทางทิศตะวันตก จะยกย่องอนุโมทนา ควรเริ่มต้นในการปฏิบัติให้เจริญออกไป ต้องประกอบด้วยอุบายในความเมตตากรุณาจิต ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า เพื่อการกำจัดกิเลสให้ดับไป และ เข้าในถึงโมกขธรรม

ปางที่ 36
เอ.ฮา.ยา.เฮ.
อี ซี อี ซี
Yi Xi Yi Xi
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปพระมเหศวรเทพเจ้า ลงมาโปรดมวลมนุษย์ สรรพสัตว์และเหล่าเทพ เพื่อให้เกิดความสะดวกและสบาย ในการปฏิบัติบำเพ็ญธรรมให้สำเร็จ
ความหมาย
คำว่า อีซีอีซี หมายถึง ตามพระศาสนาได้ทรงชักชวน ให้ผู้ที่มุ่งปฏิบัติในทุกสิ่งให้เป็นไปตามธรรมชาติ
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงสอนให้คนเรา ทำจิตใจให้สบาย ตามบัญชาของสวรรค์ ไม่หลงผิดไปจากสภาวะเดิม นานเข้าก็จะเกิดความแจ่มใส แล้วสามารถหลุดพ้นทุกข์ได้ จึงจะรู้จักโชคชะตาของตน ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย อย่าฝืนทำอะไรตามใจชอบ ก็จะมีโอกาสสามารถโปรดสัตว์อื่นๆ ได้อย่างทั่วถึง อำนวยประโยชน์ ให้แก่ทวยเทพและภูตผีที่จะเข้ามาคอยขัดขวางในการกระทำ เพื่อจะได้น้อมนำพาไปในทางที่เจริญในกุศล จงหมั่นพยายามกระทำให้สำเร็จผล

ปางที่ 37
ศิ.นา.ศิ.นา.
สิด นอ สิด นอ
Shi Na Shi Na
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นพระกาณะมารเทพราช สั่งสอนให้ปวงเทพ อย่ากลั่นแกล้งให้ร้ายแก่มนุษย์
ความหมาย
คำว่า สิดนอสิดนอ หมายถึง มหาสติและมีปฏิภาณ หมายถึง จิตใจที่มั่นคง ทำให้เกิดมหาปัญญา
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงกล่าวพระคาถานี้ เพื่ออธิบายให้ผู้ปฏิบัติมีจิตเป็นสมาธิจะช่วยทำให้เกิดปัญญา และองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสสอนว่า ผู้ปฏิบัติธรรม
ต้องมีแสงสว่างในสติปัญญา หากใช้ธรรมให้เกิดประโยชน์ต่อจิตประกอบกันให้เป็นฐานอันมั่นคง จะทำให้จิตสดชื่น สามารถกำจัดความโลก ความเห็นแก่ตัวได้ ความสว่างไสวแจ่มใสย่อมเกิดขึ้นในดวงจิตส่งเสริมให้สติปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิม ปรากฏออกมาให้เห็นได้



ปางที่ 38
อา.ลา.ศิน.บา.ลา.ศา.รี.
ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
Ou La Sen Fu La She Li
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปพระอวโลกิเตศวรพระโพธิสัตว์ มือขวาทรงถือธนูและคันศร พระหัตถ์ซ้ายทรงถือโล่ทองคำ
ความหมาย
คำว่า ออลาซัน หมายถึง พระราชาทั้งหลายที่ผ่านธรรมเข้าถึงความเป็นอิสระในธรรม ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นพระธรรมราชา
คำว่า ฮูลาเซลี หมายถึง การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ได้ทรงตรัสสอน จะห่างจากการปฏิบัติไปไม่ได้ ไม่ควรทำจิตให้ติดขัดในพระธรรม ขณะที่ปฏิบัติควรตั้งจิตใจให้เข้าถึงความสงบที่เป็นจุดยอด แห่งความสงบ หากทำได้ในลักษณะเช่นนี้ จึงได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้ได้ธรรมขั้นสุดยอด ไร้ความสงบแต่มีความสงบเรียกว่า ความสงบที่เป็นยอดมีความไหว แต่ไม่ มีความเคลื่อนไหว ลืมความเคลื่อนไหว เรียกว่าสุดยอดแห่งความเคลื่อนไหว จงทำใจอย่าหวั่นไหวและทำจิตของท่านให้เป็นอิสระ



ปางที่ 39
บา.ศา.บา.ศิน.
ฮัว ซอ ฮัว ซัน
Fa Suo Fa Seng
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นแม่ทัพสุวรรณมงกุฎภูมิ ทรงถือกระดิ่งทอง ทรงเขย่าเป็นการประกาศธรรม ไปตามกาลที่เหมาะสม เพื่อโปรดสัตว์โลกทั่วไป
ความหมาย
คำว่า ฮัวซอ หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ด้วยความสงบนิ่งแห่งขันติธรรม
คำว่า ฮัวซัน หมายถึง ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริง
คำว่า ฮัวซอฮัวซัน หมายถึง การอนุโมทนาตามเหตุปัจจัย
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ได้ทรงกล่าวเอาไว้ด้วยความเมตตากรุณาว่า การที่สรรพสัตว์ทั้งหลายจะมีความอดทนจนถึงที่สุด ไม่ยอมกระทำจิตให้หวั่นไหวตามเหตุปัจจัยนั้นๆ นั่นแหละ คือ ความอดทน อันเป็นความสุขที่แท้จริง ยังหมายถึงความอดทนต่อความอดอยากหิวโหย และยังต้องอดทนต่อความยากลำบากจากการปฏิบัติ ที่ต้องคอยบังคับจิตเอาไว้ไม่ให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง ต้องมีความพยายามอดทนต่อความยากลำบากให้มากยิ่งขึ้นไปได้อีก ควรหมั่นพิจารณาให้ถึง รูปกายทั้งหลายนี้ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงของนอกกาย จิตของเราอยู่ในฐานะที่ไม่มีตัวตน หากเข้าถึงธรรมข้อนี้ได้ ย่อมเข้าถึงความสุขอันประเสริฐสำเร็จในผลได้จริง

ปางที่ 40
บา.รา.ศา.ยา.
ฮู ลา เซ เย
Fu La She Ye
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏรูปเป็นองค์สมเด็จพระอมิตาพุทธเจ้า หากอยากพบพระองค์ เพียงตั้งจิตสวดพระคาถาออกพระนามของพระองค์ ก็จะสามารถพบพระองค์ท่านได้โดยตลอดกาล
ความหมาย
คำว่า ฮูลาเซเย หมายถึง จะต้องปฏิบัติธรรมมีความรอบรู้ด้วยตนเอง หากสามารถเข้าถึงสภาวะดั้งเดิมได้ ย่อมสามารถละสิ่งที่ยึดติดทั้งปวงได้โดยหมดสิ้น
ธรรมที่ปฏิบัตินี้ย่อมส่งหนุนให้พบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงกล่าวสั่งสอนตักเตือน ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายรีบเร่งปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องเป็นไปในทางที่เห็นชอบ เป็นการปฏิบัติธรรมอันชอบ ให้ถือรูปเป็นสูญ มุ่งตรงในธรรมไม่มีจิตที่โอนเอียงให้อยู่ในความเป็นกลาง ย่อมบรรลุโพธิธรรมได้พบองค์พระพุทธเจ้า

ปางที่ 41
ฮู.ลู.ฮู.ลู.มา.รา.
ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา
Hu Lu Hu Lu Mo La
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นร่างเทพเจ้าแปดคติ ยืนพนมมือ ตั้งเมตตาจิต เพื่อที่จะปราบเหล่าภูตผีปีศาจให้พินาศสิ้นไป
ความหมาย
คำว่า ฮูลูฮูลูมอลา หมายถึง การประกอบพิธีกรรมตามใจปรารถนาไม่ละจากตัวตน
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงกล่าวสอนว่า เมื่อบรรลุธรรมแล้ว เนื่องจากความพากเพียรในการปฏิบัติธรรมด้วยจิตที่เกิดเป็นอิสระ ย่อมมีสติปัญญาเกิดขึ้น และจะมีอภินิหาร อีกทั้งอภิญญาที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้น ปรากฏเป็นความอัศจรรย์ใจเกินความคาดคิดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นได้ ย่อมเกิดปรากฏการณ์ประหลาดเป็น ความมหัศจรรย์เกิดขึ้น หากคราวใดบังเกิดมีกองทัพผียกเข้ามาปราบผีด้วยกัน จริงๆ แล้วนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่มงคลเกิดขึ้น ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดี ว่าจะสำเร็จในธรรมได้

ปางที่ 42
ฮู. รู. ฮู. รู. ศรี.
ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
Hu Lu Hu Lu Xi Li
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปเทพเจ้า 4 กร พระหัตถ์ขวาทรงถือดวงจันทร์และพระหัตถ์ซ้ายทรงถือดวงอาทิตย์ ช่วยในการส่องแสงสว่างลงบนพื้นโลก เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์
มนุษย์และทวยเทพ
ความหมาย
คำว่า ฮูลูฮูลูซีลี หมายถึง การประกอบบำเพ็ญธรรมโดยปราศจากความคิดคำนึงพะวง กังวลใดๆ เลย ย่อมมีจิตที่เป็นอิสระสูง ไร้การยึดติดในความเป็นตัวเป็นตน
อรรถาธิบาย
ผู้ที่ปฏิบัติจนสามารถทำจิตให้เป็นอิสระไม่ยึดมั่นหมายมั่นในตัวในตนได้แล้ว ย่อมสำเร็จในมหามรรค แม้กระทั่งการปฏิบัติและการกระทำในสิ่งต่างๆ ย่อมเป็นไป ได้อย่างอิสระ ไม่ต้องฝืนใจ ตามที่จิตปรารถนา หากต้องการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย จะปรากฏธรรมกายเป็นหมอมาช่วยรักษา เพื่อปลดเปลื้องทุกข์และสรรพโรคให้หายได้ พระโพธิสัตว์ผู้บรรลุพระธรรมกายอันเป็นอิสระนี้ด้วยความมีเมตตากรุณาเป็นกุศลอย่างแท้จริง

ปางที่ 43
สา.รา.สา.รา.
ซอ ลา ซอ ลา
Suo La Suo La
ภาคนิรมาณกาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงแปลงเป็นภาพของถ้ำพรหมโฆษ อยู่บนภูเขาพูถอ ในมณฑลจีเจียง ผู้ที่ตั้งใจในการปฏิบัติธรรม เมื่อนมัสการกราบไหว้สักการะพระองค์ท่านเป็นประจำ
ด้วยบารมีจะบันดาลให้เห็นองค์พระโพธิสัตว์ พระองค์ท่านก็จะปรากฏกายให้เห็น นับว่าเป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง
ความหมาย
คำว่า ซอลาซอลา หมายถึง ผู้ปฏิบัติที่มีความมุ่งมั่นมีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว และมีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง จะได้เห็น องค์พระโพธิสัตว์
อรรถาธิบาย
ผู้ปฏิบัติที่มีความมุ่งมั่นมีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว และมีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง ไม่ยึดมั่นหมายมั่นในความเป็นตัวตน ว่าเป็นเราเป็นเขา เพราะไม่ใช่สิ่งที่ เที่ยงแท้แน่นอน เป็นเพียงภาพที่ลวงตาเท่านั้นเอง จงตั้งจิตตั้งใจมุ่งตรงต่อการปฏิบัติในธรรม ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น ย่อมส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ได้บรรลุ ในมรรคผลอันเป็นวิสุทธิผล สามารถหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จากการเวียนว่ายตายเกิด ผลบารมีย่อมส่งหนุนให้ได้พบได้เห็นองค์พระโพธิสัตว์

ปางที่ 44
สิ. รี. สิ. รี.
สิด ลี สิด ลี
Xi Li Xi Li
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นองค์พระโพธิสัตว์ทรงแปลงกายเป็นภาพที่ให้มองเห็นใบหน้ากันอย่างชัดเจน อันเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ทรงเสด็จลงมาโปรดสรรพสัตว์ทั่วทุกทิศ พระหัตถ์ซ้ายทรงถืออมฤตกุณฑี (หม้อน้ำมนต์) พระหัตถ์ขวาทรงถือกิ่งทับทิม เพื่อประพรมน้ำอมฤตให้แก่สรรพสัตว์ ที่มุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติธรรมให้พ้นทุกข์ภัย ทั้งหลาย
ความหมาย
คำว่า สิดลีสิดลี หมายถึง ความเป็นมหามงคลอันสูงสุด ที่สามารถอำนวยผลประโยชน์และคุ้มครองป้องกันสรรพสัตว์ โดยไม่มีการละทิ้ง
อรรถาธิบาย
ถ้าหากผู้ใดตั้งใจมั่นประกอบแต่กุศลกรรมดี ประกอบกิจที่เป็นประโยชน์แก่สิ่งทั้งปวง ด้วยการปล่อยวางทางโลกได้อย่างเด็ดขาด โดยไม่มีการปล่อยจิตใจให้ไปผูกพัน ยึดมั่นในสิ่งเหล่านั้น ย่อยจะเห็นว่าเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง ก็จะมีความสมบูรณ์พูนสุขในบุญกุศล และเหล่าเทพยดาทั้งปวง ย่อมมาร่วมอำนวยผลกัน ด้วยการอนุโมทนาบุญสาธุการสรรเสริญ ผู้ที่เจริญพระคาถานี้ จะสามารถบรรลุธรรมกายได้ จึงเป็นที่พึ่งพาอาศัยของสรรพสัตว์ทั้งหลาย และยังนำพาไปให้มองเห็น ในคติทั้ง 6 ก็จะได้รับความคุ้มครองของผู้มีบุญ จนกระทั่งเข้าสู่การสำเร็จมรรคผล

ปางที่ 45
สุ. รู. สุ. รู.
ซู ลู ซู ลู
Su Lu Su Lu
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นองค์พระโพธิสัตว์ แปลงเป็นน้ำอมฤต เพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้ได้รับความชุ่มชื่น อิ่มเอิบและเบิกบาน อันเป็นหิตานุหิตประโยชน์ในทางธรรม บ้างก็เรียกว่า เสียงใบไม้ร่วง อันเป็นประโยชน์ต่อทางธรรม
ความหมาย
คำว่า ซูลูซูลู หมายถึง น้ำอมฤต เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับความชุ่มชื่น
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ ทรงได้แนะนำให้เป็นทานบารมี ด้วยน้ำอมฤตที่ทรงด้วยคุณค่ามหาศาลนี้ ให้ผู้ที่ได้มุ่งมั่นในการปฏิบัติในขณะที่กำลังบำเพ็ญบุญอยู่นั้น ได้บังเกิดเห็นน้ำอัน มีคุณ 8 ประการ ที่มีความใสสะอาดบริสุทธิ์ที่สามารถไหลขึ้นลงได้ตามปกติ เพื่ออำนวยประโยชน์โปรดสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับความชุ่มชื่น อิ่มเอิบและเบิกบาน ชำระร่าง กายและจิตใจ ความกังวลเดือดร้อนทั้งปวงก็จะหายไป โดยชำระล้างจิตใจของผู้ปฏิบัติให้ใสสะอาดหมดจดในที่สุด

ปางที่ 46
บุด.ดา.ยะ.บุด.ดา.ยะ.
ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
Pu Ti Ye Pu Ti Ye
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ทรงแปลงให้ในท่าจูงเด็ก ซึ่งมีเด็กติดตามมา แสดงความเมตตากรุณา เพื่อโปรดสรรพสัตว์
ความหมาย
คำว่า ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย หมายถึง การตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง ตรัสรู้ถึงภูมิจิต
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ ทรงได้แนะนำสั่งสอนและตักเตือนให้ผู้ปฏิบัติโดยทั่วไป จะต้องยึดมั่นในหลักการทางธรรมไว้ในใจเพื่อเป็นฐานแห่งการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องกันไป ผู้ปฏิบัติจะต้องแสวงหาโพธิจิต วิริยะจิต ไม่ข้องแวะด้วยรูปธรรม อย่าทำให้จิตใจอันบริสุทธิ์ต้องตกลงไปในกองเพลิงแห่งกิเลส ไม่หวั่นไหวไปกับอุปกิเลสน้อยใหญ่ ต้องบำเพ็ญเพียรพยายามให้จิตใจมีความกล้าหาญ ไม่คิดย่อท้อต่อสิ่งใด ไม่หวั่นไหวไปตามภัยธรรมชาติที่เกิดจากดินฟ้าอากาศและลมฝนทั้งปวง หากผู้ปฏิบัติรวมจิต ให้เป็นหนึ่งเดียว มีความพยายามอดทนต่อทุกสภาพเหตุการณ์ได้ จิตย่อมเจริญงอกงาม ธรรมก็บังเกิดผล
ส่งผลให้เข้าสู่แดนสุขาวดีภูมิได้

ปางที่ 47
โบ.ดา.ยะ.โบ.ดา.ยะ.
ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย
Pu Tuo Ye Pu Tuo Ye
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปพระอานนท์เถระ กำลังอุ้มบาตรออกจาริกเพื่อโปรดสรรพสัตว์
ความหมาย
คำว่า ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย หมายถึง คำสอนขององค์พระโพธิสัตว์ ให้ผู้ที่ปฏิบัติต้องมีความเมตตา ความกรุณา ให้ถือเป็นหลักสำคัญ องค์พระทรงชี้ให้เห็นถึงความเมตตากรุณา
ให้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของจิต ที่รู้ซึ่งจากจิตอันแท้
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ ทรงสอนให้รู้ว่าคนดีและ คนชั่ว คนมีบุญและคนมีบาป แม้สัตว์ที่ต้องตกไปอยู่ในทุคติ ก็สามารถไปสู่สุขาวดีภูมิได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าทุกสรรพสิ่งมี ความเท่าเทียมเสมอภาคกันเช่นตัวเรา พระโพธิสัตว์มิได้รังเกียจแม้แต่น้อย ก็คอยหาช่องทาง ชี้แนะอุบายต่างๆ เพื่อช่วยเหลือให้หลุดพ้นออกมาได้ ผู้ปฏิบัติธรรม จะต้องถือความเมตตากรุณาเป็นฐานกำลังอันมั่นคงของจิตใจ

ปางที่ 48
ไม.ตรี.เย.
มี ตี ลี เย
Mi Di Li Ye
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปพระเมตไตรยโพธิสัตว์ ทรงเสด็จออกมาแนะนำสั่งสอนสัตว์โลก ให้ได้รับสุขในโพธิธรรม เร่งปฏิบัติธรรมด้วยความเมตตา กรุณา ในที่สุดย่อมบรรลุ
ความหมาย
คำว่า มีตีลีเย ความหมายว่า พระมหากรุณาขององค์พระโพธิสัตว์
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงแนะนำสั่งสอน ให้ผู้ปฏิบัติเน้นหนักในเรื่องของจิต ต้องมีเมตตากรุณา ให้เข้าถึงโพธิมรรค ในบรรดาสรรพสัตว์ หากรักตนเองมากเท่าใดก็ให้รัก ผู้อื่นมากเท่านั้น เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ก็จะได้รับความหลุดพ้น




ปางที่ 49
นี.ลา.เกน.ถา.
นอ ลา กิน ซี
Nuo La Jin Chi
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูป องค์พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ โปรดสัตว์ให้บรรลุธรรม (โปรดสัตว์ในนรก) พ้นจากทุคติ
ความหมาย
คำว่า นอลากินชี ความหมายว่า นักปราชญ์ ผู้รักษาตนเองให้อยู่ในธรรม มีมหากรุณาจิต
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนและตักเตือน ผู้ใดหวังในพระพุทธผล อย่าได้มีความท้อถ้อยทั้งทางกายและทางใจ จงส่งเสริมและให้กำลังใจ เพื่อจะให้ผู้มุ่งในการปฏิบัติ ได้กลับตัว กลับใจ หันมากระทำในสิ่งที่ชอบที่ถูกต้องด้วยปัญญา ในที่สุดย่อมบรรลุพุทธผล สู่พุทธภูมิได้

ปางที่ 50
ตริ.ศา.รา.นา.
ตี ลี สิด นี นอ
Di Li Se Ni Na
ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูป พระรัตนธวัชโพธิสัตว์ ทรงถือโตมร (หอกสามง่าม) ทองคำ
ความหมาย
คำว่า ตีลีสิดนีนอ หมายถึง คมของวชิระ คมของอาวุธ คมของจักร ให้คนเรามีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์สั่งสอนและตักเตือน ในบรรดาสรรพสัตว์ทั้งปวง ทั่วทั้งสากลโลก ให้มีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติ พระรัตนวัชระโพธิสัตว์ ซึ่งถือโตมร เป็นศาสตราวุธ จะมาคอยคุ้มครองป้องกันภัย ปราบเหล่ามาร ปีศาจ ถึงผู้ปฏิบัติอยู่จะยังไม่ซาบซึ้ง มีความคิดสับสนอยู่บ้าง เพียงพระโพธิสัตว์ท่านเงื้อศาสตราวุธ เหล่ามารร้ายและภูต
ผีปีศาจก็จะพากันหนีหายไปโดยพลัน หากผู้นั้นมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง ก็จะทำให้ผู้นั้นได้บรรลุธรรมอย่างแน่นอน
ปางที่ 51
บา.ยา.มา.นา.
ผ่อ เย มอ นอ
Po Ye Mo Na
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูป  พระสุวรรณาภาธวัชโพธิสัตว์   มือทั้งสองทรงถือวชิรคธาทองคำ   เพื่อโปรดสัตว์
ความหมาย
คำว่า  ผ่อเยมอนอ  หมายถึง   ส่งเสียงก้องไปทั้งสิบทิศ   เป็นเสียงแห่งความปิติยินดี
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ต้องการ  จะคัดเลือกผู้ที่ปฏิบัติได้ดีงาม   ให้ได้ฟังอนุตรธรรม  พระโพธิสัตว์จึงพยายามมาปรากฏธรรมกาย  ในการโปรดสรรพสัตว์  เพื่อให้สัตว์โลกหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมาน ในการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ ซึ่งเป็นความประสงค์ของพระพุทธโพธิสัตว์  ที่จะได้โปรดในกษายกลัป  จึงมีความปิติยินดี  ที่จะได้พากันข้ามฟากไปยัง แดนนิพพาน


ปางที่ 52
โซ. ฮา.
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo  Po  He
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูป  องค์พระโพธิสัตว์ทรงนั่งขัดสมาธิ  มีเศียรพระอริยะสามเศียร   โปรดสัตว์ด้วยพระนิพพานธรรม  เพื่อจะนำให้สรรพสัตว์ทั้งปวง  ได้เดินตามพระองค์สู่
ความสำเร็จผลสู่แดนนิพพาน
ความหมาย
คำว่า  ซอผ่อฮอ  หมายถึง  สภาวะเดิมคือนิพพาน  ให้ระงับการยึดติดในการเพิ่มผลประโยชน์ต่างๆ จะได้ไม่มีจิตกังวลติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ธรรมทั้งหลายไม่เกิดไม่ดับเป็นความสงบนิ่ง  นั่นแหละเป็นนิพพานอันเป็นมงคล
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนคอยอบรม  และแนะนำให้สรรพสัตว์ที่ตั้งใจปฏิบัติมุ่งตรงไปสู่พระนิพพานได้อย่างรวดเร็ว เพราะธรรมช่วยให้จิตได้เป็นหนึ่งเดียว  ย่อมส่งเสริมให้สำเร็จผลมีสติสมบูรณ์ ตั้งแต่ต้นจนจบเกิดเป็นแสงส่องสว่างช่วยให้จิตเข้าถึงความสงบแห่งสัจธรรมหากสรรพสิ่งทั้งปวงเข้าถึง อนุปาทิเสนิพพานจิตย่อมมีแต่ความสงบสุข  โลกนี้ก็จะกลับกลายเป็นสุขาวดีภูมิ
ปางที่ 53
สิ.ตา.ยา.
สิด ถ่อ เย
Xi Tuo Ye
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูป   พระสารีบุตรเถระ ทรงกระทำมือเป็นปทุมมุทร  แสดงถึงความรอบรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง
ความหมาย
คำว่า สิดถ่อเย  หมายถึง  ความมุ่งมั่นเกิดความสำเร็จในอรรถธรรมทั้งปวง  หากสรรพสิ่งทั้งหลายหลุดพ้นจากลาภยศชื่อเสียง  ด้วยมีธรรมเป็นตัวจิตใจ   โดยปราศจาก
ขอบเขตจำกัดไว้  ย่อมสำเร็จกันได้โดยง่าย
อรรถาธิบาย
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถึงธรรมอันเป็นสุดยอด ให้ปฏิบัติธรรมด้วยความดีงาม  ด้วยพระองค์ทรงมีน้ำพระทัยอย่างเสมอภาค  และองค์พระโพธิสัตว์ทรงได้ตักเตือน  ให้สรรพสัตว์และมวลมนุษย์  รีบเร่งปรับแก้ที่ใจ แล้วหันกลับมาแก้ไขตัวใหม่  จงพากเพียรสร้างสมบุญบารมีเอาไว้ให้มาก   จงอย่าหลงยึดถือในสิ่งปลอมแปลง  ด้วยลาภ ยศ ชื่อเสียง  และอารมณ์ความโลภเข้ามาไว้ในกำมือ  จงปฏิบัติธรรมด้วยความตั้งใจจริง   เพื่อบรรลุผลในอนุตรธรรมอันสูงสุด
 
ปางที่ 54
โซ. ฮา.
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo Po He
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปพระธรรมกาย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์   เท่าจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา   ทรงยืนตั้งกายตรง  ด้วยจิต  ที่ทรงจะได้โปรดสัตว์อยู่ในธรรมสาคร
ความหมาย
คำว่า ซอผ่อฮอ  หมายถึง  ถ้าผู้ปฏิบัติได้รู้แจ้งเห็นจริง  ในสิ่งไม่จริง  ไม่ใช่ของแท้  ด้วยความสัจจริงที่รู้แจ้งเห็นในพระสัจธรรมได้แล้วนั้น  ก็จะสำเร็จได้โดยง่าย
อรรถาธิบาย
พระพุทธองค์ทรงตรัสให้เห็นว่า  มวลมนุษย์ไม่คำนึกถึงความจริงแต่ดั้งเดิมแต่ยังมีโอกาสที่จะเข้าถึงความจริง ด้วยต้องตั้งใจในการปฏิบัติ อย่าหลงอยู่ในโลกียวิสัยขอให้มวลมนุษย์ทั้งหลาย  จงมีความพากเพียร ด้วยวิริยะอุตสาหะในธรรม จึงจะทรงสมความเมตตากรุณาที่พระองค์ทรงมีต่อสรรพสัตว์ด้วยความตั้งใจจริง
ปางที่ 55
ม.หา.สิ.ตา.ยา.
หม่อ ฮอ สิด ทอ เย
Mo He Xi Tuo Ye
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูปพระโพธิสัตว์ทรงเปล่งรัศมี พระหัตถ์ทรงถือรัตนธวัช   ได้ส่องสว่างเสด็จโปรดสรรพสัตว์ในไปทั่วโลก
ความหมาย
คำว่า หม่อฮอสิดทอเย  หมายถึง  พระพุทธธรรมที่มีความกว้างใหญ่ไพศาล   หากนำมาปฏิบัติไว้  จะสำเร็จในพระพุทธผล
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงเมตตากรุณา  ส่องแสงสว่างด้วยพระรัศมีแห่งพระบารมี  ช่วยขจัดความทุกข์ให้กับสรรพสัตว์ทั่วโลกธาตุ  ให้ซาบซึ้งถึงอมิตาภะ  ไม่มีการลำเอียง ทรงไว้ด้วยความเที่ยงธรรม  ในการโปรดสัตว์โลกทั้งปวง  ทั้งดีและชั่วให้หลุดพ้นจากการเกิดดับ  เข้าสู่สุขาวดีภูมิ

ปางที่ 56
โซ. ฮา.
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo Po He
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นพระโมคคัลลานะเถระ   มือขวาทรงถือไม้เท้าขักขระ  มือซ้ายทรงอุ้มบาตร
ความหมาย
คำว่า ซอผ่อฮอ  หมายถึง  ธารณีที่ยังประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม  เพื่อโปรดมนุษย์ด้วยความเมตตากรุณา
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์มุ่งให้สรรพสัตว์ทั้งสามโลกธาตุ  ได้เร่งความเพียรในการปฏิบัติด้วยความตั้งใจ และให้หมั่นเร่งชำระล้างจิตใจให้ใสสะอาด ย่อมต้องมีความตื่นตัวในการปฏิบัติ   เพื่อหลีกหนีความทุกข์ในทุคติทั้ง  3  เพื่อการหลุดพ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน  ด้วยความเมตตากรุณาของพระพระโพธิสัตว์


ปางที่ 57
สิ.ตา.ยา.เย.
สิด ทอ ยี อี
Xi Tuo Yu Yi
 ภาคนิรมาณกาย
บรรดาพระโพธิสัตว์ และทวยเทพเทวาต่างมาชุมนุมพร้อมกัน ณ แดนสุขาวดี
ความหมาย
คำว่า สิดทอ  หมายถึง   ความสำเร็จ
คำว่า ยีอี  หมายถึง   ความว่างเปล่า
อรรถาธิบาย
พระพุทธธรรมนั้น  มีความกว้างใหญ่ไพศาล เหล่าปวงเทพทั้งหลาย  ต่างยอมรับในความสำเร็จ  อันเป็นความว่างเปล่า (สุญญตาธรรม)   ผู้ใดได้พากเพียรในการปฏิบัติบูชา  หมั่นสวดมนต์ภาวนาในพระคาถาธารณี ย่อมบันดาลให้เกิดประโยชน์ต่อปวงเทพเป็นอย่างมาก  จะทรงโปรดเหล่าสรรพสัตว์และปวงเทพ ให้ได้บรรลุใน อนุตรธรรม  อย่างทั่วกึงกัน


ปางที่ 58
โซว์.รา.ยา.
สิด พัน ลา เย
 Shi  Bo  La  Ya
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นรูป  องค์พระอมิตภพุทธเจ้ากับพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ และพระโพธิสัตว์อื่นๆ  ทรงแสดงในท่ากำยานของรูปมหายาน   ทรงปรากฏเป็นรูปลักษณะ
ของเทพนารี (เทพเทพี)
ความหมาย
คำว่า สิดพันลาเย  หมายถึง   ธรรมที่มีอิสระอย่างสมบูรณ์
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ในธารณีนี้ ทรงปรากฏกายเป็นเทพีและเทพไท  เพื่อโปรดเหล่าเทพีและเทพไท  ที่มีความดีและความชอบ  ได้ส่องแสงสว่าง ทั้งที่เทวโลกและมนุษย์โลก  ด้วยเทพีและเทพไทยังไม่สามารถหลุดพ้นจากวัฏฏะแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในแต่ละภพภูมิ  เนื่องด้วยไม่เคยรู้และปฏิบัติในธรรม  ด้วยความเมตตาจิตขององค์พระโพธิสัตว์  จึงทรงได้ตรัสสั่งสอน ในพระธรรมต่างๆ เพื่อจะช่วยให้เห็นช่องทางและง่ายต่อการนำไปปฏิบัติตน   เพื่อจะได้บรรลุเข้าสู่มรรคผลอันบริสุทธิ์
ปางที่ 59
โซ. ฮา
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo Po He
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นพระอชานเถระ  ทรงยืนอุ้มบาตรชูขึ้นสูงเสมอศีรษะ ใบหน้าดูอิ่ม  ยิ้มแย้มหัวเราะ  เป็นการบูชากำลังใจ  เพื่อหวังจะเพิ่มกำลังในการโปรดสัตว์ทั้งปวง 
ความหมาย
คำว่า  ซอผ่อฮอ  หมายถึง  สภาวธรรมที่มีความสมบูรณ์  มีความเป็นอิสระ  ต้องถือคุณธรรมเป็นฐาน  ในการประกาศความยิ่งใหญ่ของพระธรรมมรรค  ที่มีผลสุดลึกซึ้ง
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ในธารณีพระคาถานี้ ทรงชี้ให้เห็นถึงสรรพธรรมนั้น  ไม่มีเขตแดนขอบเขตใดจะขวางกั้นได้ ทั้งสามโลกธาตุ  ที่อาศัยกันอยู่ทั่วทั้งสิบทิศ  ก็จะบรรลุสำเร็จผลกันได้  องค์พระโพธิสัตว์ทรงโปรดพระเมตตาและกรุณา  สั่งสอนให้ผู้ที่ปฏิบัติมุ่งตั้งจิตให้ตรง  ความประสงค์ของพระพุทธเจ้าและบรรดาพระอริยะเจ้า และปราชญ์ทั้งหลาย  ต้องมีความประสงค์ของตนเองเช่นกัน  เพื่อประกอบในบุญทานตามความสามารถในฐานะของตนเอง

ปางที่ 60
นี.ลา.เกน.ถา.
นอ ลา กิน ซี
 Nuo  La  Jin  Chi
 ภาคนิรมาณกาย
 ปรากฏกายเป็นพระคิรีสาครปัญญาโพธิสัตว์  พระหัตถ์ทรงถือดาบทองคำ   ทรงโปรดพระอริยะเถระทางฝ่ายหินยาน
ความหมาย
คำว่า นอลากินชี  หมายถึง  ความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา ช่วยปกปักรักษา  คุ้มครองป้องกันไม่ให้มีจิตเป็นอกุศลกรรม
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์  ทรงใช้ธรรมสั่งสอนอบรมให้กลุ่มลัทธิมหายาน  ในการยึดธรรมไว้เป็นเครื่องป้องกันในเบื้องแรก  เพื่อมิให้ผู้ปฏิบัติไปใฝ่ในหินยาน  องค์พระโพธิสัตว์จึงทรงแสดงอภินิหารโปรดเหล่าหินยานโดยตรง  ให้มีความมุ่งมั่นตั้งใจสำเร็จในพุทธยาน และต้องฟังสรรพธรรมทั้งหลายของมหายาน  ย่อมสำเร็จผลด้วยความรัก ความเมตตากรุณา ช่วยปกปักรักษา  คุ้มครองป้องกันไม่ให้มีจิตเป็นอกุศลกรรม  ย่อมพบความสำเร็จได้

ปางที่ 61
โซ. ฮา.
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo Po He
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นพระจัณฑาลเถระ   ทรงถือสัทอรรถธรรมอสังสกฤต  และทรงหาบงอบฟาง   เพื่อโปรดสัตว์ทั้งหลาย
ความหมาย
คำว่า  ซอผ่อฮอ  หมายถึง  ธารณีที่แสดงถึงการตักเตือน  ด้วยความเมตตากรุณาแห่งองค์พระโพธิสัตว์
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงมีความเมตตากรุณา  ธารณีที่แสดงถึงการตักเตือน  ให้ผู้บรรลุในหินยาน  ช่วยแนะนำผู้ที่มุ่งมั่นในหินยานธรรม  ไม่ให้ยึดถือเอาทัศนะคติเดิมของที่ตนมีอยู่นั้น   ให้รีบกลับตัวและใจในการแสวงหาธรรมที่ถูกต้องในมหายาน  อันจะเป็นช่องทางแห่งการสำเร็จผลได้โดยง่าย   ต้องเร่งให้มีความตื่นตัว  เพื่อเร่งแสวงหาหลักธรรมที่จะบรรลุ  มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง  ด้วยเหตุองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ  พระองค์ จึงทรงจุติมายังโลกมนุษย์ได้ทรงเลือกในทางมหายานเป็นสำคัญ เพื่อนำเอามาโปรดสัตว์โลกทั้งปวง ไม่ถือเอาหินยานมาโปรดสัตว์โลก
ปางที่ 62
มา.ลา.นา.ลา
มอ ลา นอ ลา
Mo Na Nuo La
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นพระรัตนมุทรราชโพธิสัตว์ พระหัตถ์ทรงถือขวานทองคำด้ามยาว  ทรงยืนอยู่ระหว่างสรรพสัตว์  เพื่อทดสอบจิตใจและการกระทำของสัตว์โลก
ความหมาย
คำว่า มอลา  หมายถึง   มโนรถความปรารถนา ความประสงค์
คำว่า นอลา  หมายถึง  อนุตตรธรรม
มอลานอลา  หมายถึง  การปฎิบัติ อนุตตรธรรมสมดังประสงค์
อรรถาธิบาย
องค์เทพเจ้า  เทพยดา  ที่อยู่เบื้องบนสวรรค์  หรืออยู่กลางอากาศ อีกทั้งอยู่ตามพื้นแผ่นดิน พร้อมทั้งมวลมนุษย์  สรรพสัตว์ ครุฑาและเหล่ายักษ์  หากได้ตั้งจิตใจ  ปฏิบัติในธรรม  ย่อมส่งผลให้สำเร็จพุทธธรรม  สมดั่งความมุ่งหวัง
ปางที่ 63
โซ. ฮา
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo Po He
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็น  พระเกาซีลาเถระ สวมรองเท้าหญ้าทำด้วยต้นอ้อ   ทรงเดินอยู่บนผิวน้ำ เปล่งสุรเสียงดังคลื่นทะเล
ความหมาย
คำว่า  ซอผ่อฮอ  หมายถึง  พระโพธิสัตว์มุ่งตักเตือนสั่งสอนให้คนปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังเปิดเผยอรรถธรรมอันลึกซึ้งของมหามรรคนี้
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงกล่าวเป็นพระคาถา  เพื่อตักเตือนสั่งสอนให้สรรพสัตว์ปฏิบัติธรรม  ให้ผู้ปฏิบัติใส่ใจมุ่งมั่นอย่างลึกซึ้งไม่นานนักย่อมเข้าสู่มหามรรค   วิธีการให้มองเงาของตนเองเป็นแสงสะท้องกลับมา  นั่นก็หมายความถึงว่าการดูตัวใจของตัวเองให้รู้แจ้งเท่านั้น  จะสามารถมุ่งตรงต่อสภาวะเดิมได้อย่างปลอดโปร่งอย่างแท้จริง  องค์พระโพธิสัตว์ทรงกล่าวเน้นว่า  ให้ผู้ปฏิบัติธรรมศึกษาให้รอบรู้อย่างถ่องแท้   ด้วยความจริงใจ มีความอดทนด้วยความพากเพียรอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  ในภายหน้าจะมีสติกล้าหาญในการทำประโยชน์อันเป็นกุศลธรรมให้กับผู้อื่นและส่วนรวมได้
ปางที่ 64
ลี.ศัง.กะ.รา.ยะ
สิด ลา เซง ออ หมก เค เย
Xi  La  Sen  Ou  Mu  Qie  Ye
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นพระเภสัชราชโพธิสัตว์   ทรงถือสมุนไพร  เสด็จออกไปรักษาโรคให้สัตว์โลก
ความหมาย
คำว่า  สิดลาเซง หมายถึง การแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน  ด้วยสงสารสัตว์โลกทั้งหลาย  ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน
คำว่า  ออหมกเคเย   หมายถึง  ความหลงผิดคิดทะเยอทะยานอยาก  ด้วยความโลภเข้ามาเกาะกินจิตใจ  เท่ากับว่าเกิดเป็นโรคร้ายเกิดขึ้น
พระคาถาบทนี้ เป็นการแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน พระองศ์สงสารสัตว์โลกทั้งหลาย ฉะนั้น จึงปรากฏพระธรรมกายเป็นเภสัชราชโพธิสัตว์ เพื่อรักษาโรคร้ายต่าง ๆ เพื่อให้สรรพสัตว์ได้มีความสุขสบาย
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงมีจิตเมตตากรุณา ให้ความรักสงสาร ในบรรดาสรรพสัตว์และเหล่ามวลมนุษย์ ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน  พระองค์ทรงแสดงความรักความเมตตาด้วยทรงเนรมิตให้เป็น พระเภสัชราชโพธิสัตว์ เสด็จออกไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้สัตว์โลก ให้หาย เหล่ามวลมนุษย์ที่มีโรคเพราะความหลงผิด คิดผิด เมื่อความคิดเกิดขึ้น โรคก็เกิดขึ้นตามมา  หมอที่ดี คือผู้ที่รักษาโรคทางกายให้หายได้ ดุจเช่นกันกับพระอริยะที่เพียงรักษาโรคทางจิตให้หายสิ้น  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้สรรพสัตว์ลดละเลิกกิเลสทั้งปวง พระพุทธเจ้าสอนให้เราเพ่งจิต  ให้ค้นหาโรคทางจิต  เมื่อรู้ว่าจิตของเรานี้หาพบไม่ได้   โรคทางจิตก็จะหายขาดไปได้

ปางที่ 65
โซ. ฮา
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo Po He
 ภาคนิรมาณกาย
พระโพธิสัตว์ปรากฏกายเป็น  องค์พระสมบูรณ์โพธิสัตว์   พระหัตถ์ประณมดุจดอกบัว สวมเสื้อคลุมสีแดง ด้วยจิตอันสมบูรณ์แจ่มใส  คอยอำนวยความสุขแก่สัตว์โลก
ความหมาย
พระคาถานี้ติดต่อกับ สิดลาเซง ออหมกเคเย คือ  คนเรานั้นมีโรคทางจิตเป็นภัยคุกคามให้ได้รับความทุกข์ และพระธรรมโอสถเท่านั้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
คำว่า  ซอ ผ่อ ฮอ หมายถึง  ประโยคนี้ซ้ำกับปางที่  61 และปางที่ 63  แต่มีความหมายต่างกัน  คนเรานั้นมีโรคทางจิตจะต้องมีภัยใหญ่  จะต้องทนทุกข์ทรมานอย่างสาหัส 
มีเพียงแต่พระธรรมเท่านั้น  ที่รักษาให้หายได้
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงเอาธรรมคาถา  มหามรรคในบทนี้มาโปรดสรรพสัตว์และมวลมนุษย์ทั้งปวง ด้วยความเมตตากรุณา พระองค์ทรงขอให้มนุษย์และสัตว์ทั้งปวง จงปล่อยวางสิ่งที่อยู่ภายนอกรูปกายตนเอง  แล้วจงตั้งใจปฏิบัติธรรม
ปางที่ 66
โซ.ฮา.สิ.ตา.ยา
ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
Suo Po Mo He  Ou Xi Tuo Ye
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฎกายเป็นพระอุตรเภสัชโพธิสัตว์   พระหัตถ์ทรงถือกุณโฑบรรจุยา   เพื่อโปรดรักษาโรคร้ายให้กับสรรพสัตว์ทั้งปวง
ความหมาย
คำว่า ซอผ่อหม่อฮอ  หมายถึง สัตว์ทุกประเภท มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกัน
คำว่า ออสิดถ่อเย  หมายถึง สรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับธรรมมีความสุขสบายทั่วกัน
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงตรัสสั่งสอนว่า  ด้วยความเมตตาที่มีต่อสรรพสัตว์อย่างใหญ่หลวง  เพื่อให้ได้ร่วมกันรับรู้ในคุณธรรม แล้วจึงจะได้รับความสุขสบายทั่วถึงกัน  จะเข้าถึงธรรมของฝ่ายมหายานได้ด้วยดี  ด้วยมีขันติธรรมสามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ปางที่ 67
โซ. ฮา
ซอ ผ่อ ฮอ
 Suo Po He
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นพระสารีบุตรเถระ  ประทับนั่งทรงกางพระสูตร    เผยแผ่ชี้ให้เห็นพระสัทธรรมทั้งปวง  โปรดสัตว์ไปจุติในสุขาวดีภูมิ
ความหมาย
ประโยคนี้ต่อเนื่องจากประโยคก่อน เพื่อความสำเร็จเป็นมหายานในพุทธภูมิ เป็นพระคาถาที่ประกอบด้วยความเมตตา กรุณาจิตอันสูงสุด
อรรถาธิบาย
พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย  ทรงสอนเน้นความสำคัญไม่ให้เบียดเบียนฆ่าชีวิตผู้อื่น   ดำรงปณิธานที่จะโปรดสัตว์อย่างทั่วถึง  รักชีวิตอื่นเหมือนรักชีวิตของตนเอง   ทำจิตให้มีความเมตตากรุณา  จงเอาจิตของสัตว์อื่นมาใสจิตของตน แล้วเราจะพบว่าเราจะเข้าใจในชีวิตอื่นเช่นกัน   เพราะสวรรค์ชื่นชมการมีชีวิตยืนยาวของสัตว์โลก  ผู้ใดปฏิบัติตนในศีลธรรมได้และทำจิตด้วยเอาใจเขามาใส่ใจเรา   ก็จะเกิดความรักเมตตาได้อย่างแท้จริง  ก็จะบรรลุในพุทธผลได้
ปางที่ 68
จา.ลา.สิ.ตา.ยา 
เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
  Zhe  Ji  La   Ou  Xi  Tuo  Ye
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็น  แม่ทัพพยัคฆ์คำราม ทรงถือขวานทองคำ ทรงตั้งจิตมุ่งมั่น  ออกปราบศัตรูหมู่มาร
ความหมาย
คำว่า   เจกิดลา  หมายถึงการใช้วชิรจักรทองคำปราบเหล่ามาร
คำว่า   ออสิดถ่อเย  หมายถึง ความสำเร็จอันไม่มีสิ่งใดเทียบได้
เจกิดลา ออสิดถ่อเย หมายถึง การใช้วชิรธรรมจักร ปราบเหล่ามารศัตรู เพื่อความสำเร็จผล
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ ทรงแผ่ความเมตตากรุณาในสมาธิจิตให้ปรากฏโดยทั่วไป  ต่างได้รับความกรุณานี้อย่างทั่วถึงกัน ผู้ปฏิบัติต่างได้รับความสว่างไสว ด้วยความเป็นอิสระ บรรดามารร้ายและสิ่งต่างๆ อันขัดข้องจะหมดสิ้นไป เพราะเหล่ามารร้ายและสิ่งอันขัดข้องเกิดจากจิตใจที่ไปยึดไปหลงในกังวลอยู่นั่นเอง พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ถึง
ความบริสุทธิ์นั้น คือความไม่ยึดมั่นในธรรมใดๆ มุ่งตรงเข้าสู่พุทธภูมิ
ปางที่ 69
โซ. ฮา
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo  Po  he
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นองค์เทพมารราช ทรงแบกหอกทองคำด้ามยาว  จาริกไปแนะนำสั่งสอนสัตว์โลก  ระงับความเกลียดชังซึ่งกันและกัน
ความหมาย
คำว่า  ซอผ่อฮอ หมายถึง  ประโยคนี้ซ้ำกับปางที่  61 และปางที่ 63 ,65,67,68 จะเห็นว่าเป็นพระคาถาเดียวกัน   แต่มีความหมายต่างกัน  ถ้าจะอ่านพระคาถาบทนี้ต่อเนื่องจากบทก่อนคือปางที่ 68 หมายความว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนสำเร็จ  ในความบริสุทธิ์ ได้จึงไม่ควรประกอบอกุศลกรรมทั้งหลาย
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ผู้ประกาศมหามรรคนี้ หากผู้ใดปฏิบัติตามด้วยความศรัทธา  ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ  แล้วไม่เพียงแต่ลบล้างบาปกรรมและกำจัดมารได้เท่านั้นยังสามารถบรรลุสู่พุทธภูมิได้ด้วย
ปางที่ 70
บา.ตา.มา.สิ.ตา.ยา.
ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย
Bo  Tuo  Mo  Ji  Xi  Tuo  Ye
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏเป็นพระสัทคนธ์เทพโพธิสัตว์   ทรงยกกระถางธูปมโนรถ เพื่อคุ้มครองสัตว์โลก
ความหมาย
คำว่า   ปอทอ       หมายถึง   ดอกบัวแดง
คำว่า   มอกิด       หมายถึง   ชนะ
คำว่า   สิดถ่อเย   หมายถึง   มีผลสำเร็จหมดทั้งสิ้น
ฉะนั้น ปอถ่อมอกิด หมายถึง พุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต จะต้องปฏิบัติเพื่อรับความสุขร่วมกัน ส่วน สิดถ่อเย เป็นการย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ละจากกิเลส
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ ทรงนั่งประทับอยู่บนรัตนบัลลังก์ปทุมอาสน์สีแดง ส่องแสงสว่างไปตลอด แล้วพระองค์ทรงได้ทำนายไว้ว่า แสงนี้จะเกิดประโยชน์มหาศาลหาสิ่งใดเทียบไม่ได้
ปางที่ 71
โซ. ฮา
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo  Po  He
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏกายเป็นเทพเจ้าโปรยดอกบัวจำนวน ๑,๐๐๐ กลีบ  เพื่อจะได้บรรลุสิ่งปรารถนาที่จะให้สัตว์โลกประสพแต่ความสุข
ความหมาย
ประโยคนี้ เมื่อนำไปต่อกันกับประโยคก่อน จะมีหมายถึงว่าผู้ปฏิบัติไม่ยึดไม่หลงทางไปในทางใดทางหนึ่ง   ปฏิบัติอย่างอุตส่าห์และพยายาม  ด้วยการพิจารณาถึง หิริโอตตัปปะ  ความละอายต่อบาปกรรม
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์ทรงได้ตรัสสอน   สัตว์ทั้งปวงอีกว่า   มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง  สำเร็จได้ด้วยการพิจารณาตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ในทุกขณะจิต จะต้องพิจารณาจิตของตน รักษาไว้ในทุกขณะของเหตุปัจจัยไม่ให้วิตกจิตเกิดขึ้นได้ เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ความสำเร็จผลย่อมบังเกิดตามปรารถนา

ปางที่ 72
นี.ลา.กัน.เถ.ปัน.ตะ.ลา.ยะ.
นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
Nuo  La  Jin  Chi   Bu  Qie  La Ye
 ภาคนิรมาณกาย  ปรากฏเป็นพระปูรณเถระ  ทรงนั่งอุ้มบาตร  ช่วยเหล่าสัตว์ให้พ้นจากทุกภัยทั้งปวง
ความหมาย
คำว่า    นอลากินซี   หมายถึง   รักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร
คำว่า    พันเคลาเย    หมายถึง   พระเถระทรงเพ่งโดยอิสระ
นอลากินซีพันเคลาเย รวมหมายความว่า  เป็นที่รักของผู้ประเสริฐ  เป็นที่รักของพระอริยะ พระโพธิสัตว์จะทรงยื่นพระหัตถ์มาช่วยกำจัด  ความน่าหวั่นกลัวทั้งปวง ยังผลให้เกิดความสงบสุข
อรรถาธิบาย
จิตเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์  จึงปรากฏเป็นพระธรรมกายทั่วสหัสสโลกธาตุ  เพื่อโปรดสัตว์ทั้งหลาย ให้เร่งรีบปฏิบัติธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากสรรพภัยและภยันตรายทั้งหลาย  ให้ห่างหายไป  ด้วยสาเหตุที่สัตว์โลกทั้งหลายมักจะตกอยู่ในความหวั่นกลัว  เนื่องจากยังหลงยึดถือสิ่งหลอกลวงมาครอบครองไว้ว่าเป็นของเที่ยงแท้  พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้เราละลักษณะกิริยาท่าทางในอาการต่าง ๆ  ในสิ่งปลอมแปลงทุกอย่างให้หมดสิ้น  เมื่อหมดความกังวลและกดดันต่อจิตใจ ก็จะง่ายต่อการเข้าสู่มหามรรค
ปางที่ 73
โซ. ฮา.
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo  Po  He
 ภาคนิรมาณกาย  ปรากฏเป็นพระตาลาณี  เป็นพระราชบุตรขององค์พระโพธิสัตว์   ทรงถือถาดใส่ผลไม้   เพื่อโปรดสัตว์ ให้ทานแก่สรรพสัตว์
ความหมาย
ประโยคนี้ร่วมกันเข้าต่อเนื่องกับพระคาถาบทก่อน หมายถึง  การปฏิบัติให้ถือเอาสัมมาจิต และความมีสัจเป็นหลักในการปฏิบัติ
อรรถาธิบาย
พระองค์ท่าน  ได้บรรยายให้รู้ซึ้งถึงความทุกข์ยาก  หวาดระแวงหวั่นกลัว ที่ได้รับกันอยู่นั้น  ซึ่งมาจากความคิดอันไม่สะอาดบริสุทธิ์  จึงได้เกิดความไม่สงบขึ้น ในพื้นฐานการปฏิบัติธรรม  เพราะทุกสิ่งอย่างล้วนต้องสำเร็จ  ด้วยความคิดรู้สำนึกในทุกโอกาส  แต่ชาวโลกยังเข้าไม่ถึงสภาวะดั้งเดิมกันได้  ยังวนเวียนพาชีวิตตนไปสู่ทางที่ผิด  เป็นที่น่าเวทนา  สงสารยิ่งนัก พระองค์ท่านจึงได้บรรยายคำสั่งสอน  เอาไว้เพื่อให้สรรพสัตว์ได้มองเห็น  เข้าใจได้อย่างถูกต้อง
ปางที่ 74
โม.โบ.ลี.ศังกะ.รา.ยะ.
มอ พอ ลี เซง กิต ลา เย
Mo Po Li  Sen Ji Na Ye
 ภาคนิรมาณกาย ปรากฏเป็นพระสมาธิฌานโพธิสัตว์ ทรงนั่งขัดสมาธิบนจักร พระหัตถ์ทรงถือโคมไฟรัตนะ ส่องแสงไปทั่วโลกธาตุและพระธรรมธาตุ
ความหมาย
คำว่า    มอพอลีเซง หมายถึง    ผู้กล้าหาญ
คำว่า    กิตลาเย       หมายถึง    สภาวะเดิม
มอพอลีเซงกิตลาเย จึงหมายถึง ผู้มีสัจจะและคุณธรรม  ย่อมสำเร็จได้  ด้วยอาศัยสภาวะแห่งเมตตาธรรม  หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลกรรม  คิดมุ่งไปสู่ทางร้าย  ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรม
อรรถาธิบาย
พญามารเป็นผู้กล่าวถึง พระโพธิสัตว์  ด้วยผลแห่งเมตตาธรรม  ในพระมหากรุณา   จึงปรากฏเป็นพันกร พันเนตร พระองค์ทรงสอดส่องมองเห็นทั้งสิ่งดี สิ่งชั่ว  ยังผลเมตตาแผ่ไปทั่ว โลกธาตุ   ที่สรรพสัตว์ทั้งหลายพึ่งต้องอาศัยการนำทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   เพื่อจะได้ไม่ลุ่มหลง  หวั่นไหว  ในจิตใจ  ทั้งกายและใจ ก็จะไม่สะเทือนเมื่อประสบกับภาวะทั้งทางดีและทางร้าย   ก็จะสามารถอยู่ด้วยจิตใจสงบสุข

ปางที่ 75
โซ. ฮา
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo Po He
 ภาคนิรมาณกาย
ทรงจำแลงพระวรกายเป็นพระมหากัสสปเถระเจ้า   พระหัตถ์ซ้ายทรงถือลูกประคำ   พระหัตถ์ขวาทรงถือไม้เท้า  ทรงเที่ยวแนะนำสั่งสอนให้สรรพสัตว์  ได้ปฏิบัติธรรมด้วยความตั้งใจจริง
ความหมาย
คำว่า ซอผ่อฮอ  หมายถึง   การรวมเอาพระคาถาทั้งหมดแห่งมหากรุณาธารณีสูตร  มาไว้ครบถ้วนทั้งบทในประโยค
อรรถาธิบาย
ความเมตตากรุณาแห่งพระโพธิสัตว์  เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับประโยชน์ในธรรม  ไม่หลงเดินผิดทาง   มุ่งตรงไปตามธรรมบารมี   สู่ความสำเร็จบริบูรณ์ดี



ปางที่ 76
น.โม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ.
นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่  เย
Na Mo He Na Da Na  Duo Na Ye Ye
 ภาคนิรมาณกาย
ปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะขององค์พระโพธิสัตว์  ได้ทรงเนรมิตเป็นอากาศครรภ์พระโพธิสัตว์   ทรงประทับนั่งอยู่บนอาสน์หินศิลา  พระหัตถ์ขวาทรงวางไว้บนอาสนะ  พระหัตถ์ซ้ายทรงถือดอกไม้  เพื่อการสั่งสอนตักเตือน  ให้มวลสัตว์โลก  จงมั่นคงในศรัทธาวิริยะกล้าหาญอดทนขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติพระธรรม
ความหมาย
พระโพธิสัตว์ได้ย้ำถึงมนตราบทนี้  เพื่อให้แจ้งด้วย  การปฏิบัตินั้นมีทางดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว  มวลสัตว์โลกทั้งหลายอย่าปล่อยให้เสียโอกาส  หรือเสียชาติเกิดมานี้  จงมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติให้สำเร็จผล  
อรรถาธิบาย
องค์พระโพธิสัตว์  ท่านทรงได้ย้ำถึงผู้ที่มีจิตมุ่งในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด    หมั่นสวดท่องมนต์บทนี้  ให้เป็นประจำสม่ำเสมอ  ให้มีความพยายามควบคุมกายใจ  อย่าปล่อยให้ท่องมนต์คาถาด้วยความเลื่อนลอยไปตามเรื่องตามราว  ให้น้อมจิตเอาฌานสมาธิเพ่งถึงการเกิดดับ    พิจารณาถึงบุคคลที่ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ  แต่ก็ยังไม่ยอมเพ่งตถาธรรม  คงยึดแต่การกินเจเพียงประการเดียว   และให้หมั่นระลึกถึงพระพุทธเจ้าในธรรมการปฏิบัติของพระองค์ท่าน  จงตั้งจิตตั้งใจในการปฏิบัติ  ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติธรรมเถิด
ปางที่ 77
นะ.มา.อา.รยา.
นำ มอ ออ ลี เย
Na Mo AO Li Ye
 ภาคนิรมาณกาย
ทรงจำแลงพระวรกายเป็นพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ ทรงประทับนั่งขัด สมาธิบนคันธหัตถ์  ทรงร้อยรัตนะเพื่อให้สัตว์โลก  ได้รู้เห็น  ได้เพียรพยายามในการปฏิบัติ  เพื่อการบรรลุธรรมได้อย่างสมบูรณ์
ความหมาย
คำว่า นำมอออลีเย หมายถึง   การสาธยายมนต์  เพื่อเป็นการนมัสการ บูชา  สรรเสริญพระอริยะ
อรรถาธิบาย
นัยแห่งพระธารณี  เป็นการย้ำเตือนให้เร่งรีบสวดท่องธารณี  ให้รีบเร่งตื่นตัวปฏิบัติในภูมิธรรมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ   แก้ไขในความผิดพลาดที่สร้างไว้  แล้วหันกลับมาตั้งต้นใหม่ในสิ่งถูกต้องดีงาม   เพื่อแสวงหาพระธรรมด้วยความเพียรพยายามทุกขณะจิต   หมั่นระลึกถึงพระธรรมคุณอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะอยู่ในอากัปกิริยาใดๆ คงเสมอต้นเสมอปลาย  และยังต้องละความเป็นตัวของตัวเอง  เพื่อเป็นการบังคับจิตใจไม่ให้นึกคิดไปตามกระแสกิเลสหรือสิ่งที่ไร้ประโยชน์   ให้ได้สำเร็จผลบรรลุถึงความไม่มีตัวตนได้ด้วยดี 
ปางที่ 78
อ. วา.โล.กิ.เต.
ผ่อ ลู กิต ตี
Po Lu Jie Di
 ภาคนิรมาณกาย
ทรงจำแลงพระวรกายเป็นมัญชูศรีโพธิสัตว์  ประทับนั่งบนหลังสิงหอาสน์   พระหัตถ์ชี้ขึ้นฟ้า   เพื่อสั่งสอนให้สรรพสัตว์เข้าถึงธรรม
ความหมาย
คำว่า ผ่อลูกิตตี หมายถึง  สัทธรรม  เป็นความจริง  ความเป็นกลาง ความพอดี  ไม่มีที่สิ้นสุด  บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีความบริสุทธิ์  เพื่อนำทางก้าวเข้าสู่แดนสุขาวดี
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงย้ำถึงความลึกซึ้งเข้าใจของมนต์คาถา   ตามความเป็นจริงและสามารถยอมรับความเป็นจริงที่เกิดอย่างลึกซึ้งเข้าใจ  ให้ได้ว่า   เมื่อมีการเกิดก็จะต้องมีการดับ  มีชนะก็ย่อมต้องมีแพ้  มีสุขก็ต้องมีทุกข์  เมื่อมีความสบายก็ต้องมีความลำบาก  แต่เมื่อมองดูสัตว์โลกทุกชนชั้นวรรณะ  ต่างยอมรับความสุขเพียงอย่างเดียว ต่างไม่ยอมรับความทุกข์ที่เกิดขึ้น ยอมรับความชนะเพียงอย่างเดียว ต่างไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ ยอมรับความสบายเพียงอย่างเดียว ต่างไม่ยอมรับความลำบาก และยอมรับการเกิดเพียงอย่างเดียว ต่างไม่ยอมรับในการดับด้วยความแตกสลาย สูญเสียใดๆ  เพราะท้ายที่สุดก็หนีไม่พ้นทุกสิ่งทุกอย่างมันจะต้องเป็นไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนเวียนไป โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างเด็ดขาด ในที่สุดก็ต้องมีการแพ้ มีความลำบาก มีความทุกข์ มีความตายอยู่นั่นเอง หากผู้ปฏิบัติต้องการให้มีอายุยืนยาว  ต้องค้นหาในความเกิดให้บังเกิดขึ้นมาจากความแตกดับ ค้นหาในความชนะให้เกิดขึ้นในความพ่ายแพ้  ค้นหาความสุขให้เกิดขึ้นมาจากความทุกข์  ค้นหาความสบายให้เกิดขึ้นมาจากความลำบาก  เพียงเท่านี้ก็สามารถสำเร็จในคุณธรรมทั้งหมด ไม่กังวลในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นหนทางก้าวเข้าถึงความจริง
ปางที่ 79
โซว์.รา.ยะ.
ชอ พัน ลา เย
Suo Bo Na Ye
 ภาคนิรมาณกาย
เป็นภาคที่กำลังปลดประสาททางตารับรู้มองเห็น นั่งบนดอกบัวทองพันกลีบ  เพื่อแนะนำชักชวนให้สัตว์โลก   ลดละประสาททางตา  จะได้ไม่มองเห็นรูปเพียงภายนอก  ให้มองเห็นในสภาวะแห่งตน  เข้าใจในจิตภายในตนอย่างแท้จริง
ความหมาย
คำว่า ซอพันลาเย หมายถึง ผู้ปฏิบัติต้องการสำเร็จเป็นธรรมกายอันบริสุทธิ์ได้โดยเร็วกว่าปกติ จะต้องชำระประสาททางตาให้สะอาดเสียก่อน  เพื่อการมองเห็นธรรมวิสัยอันเป็นอนุตตระ (ดวงตาเห็นธรรม)  ได้อย่างแท้จริง
อรรถาธิบาย
การปฏิบัติธรรมจำเป็นต้องปิดทวารทั้งกำจัดประสาทตาด้วยใจไม่ไปยึดติดไปตามภาพนั้นๆ ที่มองเห็นรับรู้ ในสิ่งที่จะเกิดเป็นบาปกรรมเพราะรูปขึ้นมาได้อีก ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจงรับรู้ไว้ด้วยเถิดว่า ตา เป็นมารอย่างร้ายกาจ ที่คอยขัดขวางการเข้าถึงพระธรรม จงระลึกนึกถึงธรรมไว้ในใจเสมอ  เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หากมุ่งเข้าสู่สุขาวดีภูมิต้องละประสาทตาให้หมดไปจากการสัมผัสรับรู้นั้น จะได้ไม่เป็นมารคอยขัดขวางความสำเร็จอีกต่อไป
ปางที่ 80
โซ. ฮา.
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo Po He
 ภาคนิรมาณกาย
พระโพธิสัตว์ ได้ทรงแสดงกิริยาอาการบรรยายให้เห็นถึงประสาทหู  วิพากษ์ถึงเสียงเป็นภัย  ทรงวางแขนลงมาเบื้องล่าง  เพื่อชี้แนะสั่งสอนให้สัตว์โลกทั้งปวง  จงปฏิบัติธรรมด้วยการละประสาทหู จากเสียงที่ไม่ใช่ความเป็นจริง  เพื่อการฟังแต่เสียงจริง  ความสูญแห่งสภาวะของตน
ความหมาย
ซอผ่อฮอ เป็นพระคาถา ต่อเนื่องจากประโยคก่อน หมายถึง   ถึงจะละประสาทสัมผัสทางตาแล้ว หูก็เป็นอุปสรรคในการที่จะสำเร็จผลได้อีกเช่นกัน  เพราะหูก็ถือว่าเป็นมารเช่นกัน จำเป็นต้องละไปเช่นกัน จึงจะสำเร็จเข้าถึงอนุตตระ
อรรถาธิบาย
จงอย่าพะวงลุ่มหลงในเสียงที่ได้ยินนั้นๆ  เป็นการยากในการได้รับกระแสแห่งธรรม  เพื่อการบรรลุสำเร็จมรรค ผล นิพพาน ต้องละและบังคับประสาทหูให้สะอาด จิตต้องมั่นคงไม่ไขว้เขวตามเสียงที่เข้ามากระทบ  พยายามมองดูและฟังไห้ย้อนกลับไปพิจารณาเข้าสู้ความเป็นจริงธรรมดาโลกของธรรมชาติของสภาวะดั้งเดิม ของธาตุขันธ์ในจิตเท่าทันสภาวะทั้งหลาย  ไม่ต้องทำให้สะอาดอีกแล้ว ก็จะสามารถสะอาดบริสุทธิ์ได้เอง สิ่งที่ดีจะกลับขึ้นมาได้เอง  สิ่งที่ไม่ดับสูญก็จะดับสูญไปเอง  มีความสมบูรณ์แห่งธาตุ  ด้วยการดับสูญอย่างแท้จริง  เมื่อทุกสิ่งดับสูญสลายตัวออกไปเสียทั้งหมด  ความสำเร็จผลที่ปฏิบัติยอมเกิดผลติดตามเข้ามาบังเกิดขึ้นกับตัว


ปางที่ 81
โอม. สิท.ธริน.ตุ. 
งัน สิต ติน ตู
An  Xi Dian Du
 ภาคนิรมาณกาย
 พระโพธิสัตว์ ทรงแสดงกิริยาอาการให้สรรพสัตว์ได้มองเห็น  รูปชูนิ้วมือทั้งหมด   เพื่อให้สรรพสัตว์เห็นความแปลกปลอมที่แปลงปลอมในการดมกลิ่นของประสาท สัมผัสทางจมูก  ซึ่งฐานเดิมสภาวะเป็นสูญ
ความหมาย
คำว่างัน หมายถึง การนำให้เกิด เป็นปฐมบทแห่งธารณี
คำว่า สิตตินตู หมายถึง ความสำเร็จของธาตุแห่งตน เป็นจุดศูนย์รวมแห่งการปฏิบัติธรรม
อรรถาธิบาย
มนต์พระคาถาบทนี้  เมื่อรวมเข้าด้วยกัน  ย่อมหมายถึง  การปฏิบัติดูลมหมายใจ  เข้า-ออก  ในทุกขณะจิตด้วยความเป็นสมาธิสงบนิ่งอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ปางที่ 82
มัน.ตา.รา.
มัน ตอ ลา
Man Duo Na
 ภาคนิรมาณกาย
พระโพธิสัตว์ บรรยาย เรื่องลิ้น  เพื่อปล่อยละสัมผัสในการลิ้มรสชาติต่างๆ    รูปลักษณะปรากฏให้เห็นพระกิริยาอาการรูปชูพระหัตถ์  เพื่อให้สรรพสัตว์ทั้งหลายมอง
เห็นเป็นการประกาศว่า ให้ละการลิ้มรสด้วยลิ้นที่สัมผัสติดใจ  ให้มองเป็นเพียงสิ่งไม่ยั่งยืนเป็นสูญ  แล้วในที่สุดก็จะสามารถเข้าสู่ทางสำเร็จผลได้ 
ความหมาย
คำว่า มันตอลา เป็นธรรมมณฑลที่หมายถึง   ผู้ที่เคร่งครัดในการปฏิบัติต้องปล่อยละประสาทสัมผัสของลิ้น เพื่อตัดกิเลสที่ต้องลิ้มลองรสชาติอยู่ตลอดเวลา ต้องขจัดการติดใจในการลิ้มรสอย่าให้เข้ามาสัมผัสกับลิ้น  ตัวใจจึงจะมีความสะอาดบริสุทธิ์
อรรถาธิบาย
ประสาทสัมผัสแห่งลิ้น ในการลิ้มรสชาติต่างๆ  จะทำให้จิตไขว้เขวติดใจเกิดกิเลสตามมา  จะต้องตัดปัญหาในด้านของรส  ที่ลิ้นได้ไปสัมผัสเข้าเที่ยวไปชิมตลอดเวลา   เพื่อเป็นไปในการเข้าสู่ความบริสุทธิ์เป็นธรรมชาติของสภาวะเดิม รู้ถึงการปลอมแปลงหลอกหลวงของรสสัมผัส แล้วเข้าถึงสภาวะแห่งตนว่ามีความเป็นสูญ


ปางที่ 83  ปา.ตา.เย. ปัด ถ่อ เย  Ba Tuo Ye
 ภาคนิรมาณกาย  
พระโพธิสัตว์ปางถือบาตร บรรยายถึงความหลงในกายสัมผัส  เกิดเป็นความโลภมักมากในการสัมผัสร่างกาย สอนให้สรรพสัตว์ละจากกายสัมผัส  ให้เห็นว่ารูปกายและเรือนร่างที่จริงแล้วนั้นเป็นสิ่งที่หลอกลวงใจ เป็นภาพลวงตาทั้งนั้น
ความหมาย
คำว่า ปัดถ่อเย หมายถึง ความต้องใจ  ถูกใจ   และมีความต้องการที่หมายถึงร่างกายเป็นเหตุแห่งมูลฐานของความทุกข์
อรรถาธิบาย
พระโพธิสัตว์ทรงชี้เหตุและได้บรรยายให้สรรพสัตว์ในโลกเข้าใจในความโลภ ในการสัมผัสแตะต้องกาย  เพื่อให้ละจากกายสัมผัสให้ถือว่าทุกอย่างเป็นของปลอมแปลง  เป็นสิ่งหลอกลวงให้เข้าถึงในสภาวะแห่งตนของธาตุ ขันธ์ทั้ง 5   ในความไม่มีตัวตนที่แท้จริงเป็นสูญ  เพื่อทำจิตให้สงบนิ่งกับสภาวะนั้น ในการสำเร็จผลโดยเร็ว

ปางที่ 84
โซ. ฮา
ซอ ผ่อ ฮอ
Suo Po He
 ภาคนิรมาณกาย  
พระโพธิสัตว์ทรงเหาะในกลางอากาศ  ส่วนพระหัตถ์ทรงถือ ธวัชด้ามยาว  ทรงเหาะไปเพื่อแนะนำสั่งสอนธรรม  มีเนื้อหาสาระเข้าใจง่ายในเรื่องของจิตให้มองเห็นในสภาวะไม่ใช่ตัวตน ว่าอะไรจริงและไม่จริง  เมื่อจิตสัมผัส กำหนดรับรู้เข้าถึงสภาวะแห่งตนจึงมองทุกสิ่งเป็นสูญพระองค์ทรงมีจิตใจเมตตากรุณาอย่างเปี่ยมล้นในการช่วยชี้ทางสว่างพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง 
ความหมาย
คำว่าซอผ่อฮอหมายถึงจบโดยบริบูรณ์  (จบลงอย่างครบถ้วนด้วยดี)
อรรถาธิบาย
เป็นพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงมีอานุภาพในการทำจิตใจให้สะอาด สอนให้เรารู้ระบบของจิต เข้าใจในการทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น  กายและใจ หมั่นกำหนดจิตไว้ในข้อธรรมตลอดเวลา  จึงจะสามารถข้ามห่วงทุกข์ทั้งมวลโดยปลอดภัย  ด้วยการเว้นการทำบาปกรรม  ให้เร่งสร้างบำเพ็ญกุศล  เพื่อชำระจิตใจให้ใสสะอาด  นี้คือพระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงใช้สั่งสอน ก้าวพ้นทุกข์สู่แดนสงบยิ่งด้วยธรรมต้องค้นหาในความเกิดให้บังเกิดขึ้นมาจากความแตกดับค้นหาในความชนะให้เกิดขึ้นในความพ่ายแพ้  ค้นหาความสุขให้เกิดขึ้นมาจากความทุกข์  ค้นหาความสบายให้เกิดขึ้นมาจากความลำบาก  เพียงเท่านี้ก็สามารถสำเร็จในคุณธรรมทั้งหมด  ไม่กังวลในการเกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  เป็นหนทางก้าวเข้าถึงความจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น