วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หน่วยเศรษฐกิจ


หน่วยเศรษฐกิจ
หน่วยเศรษฐกิจเป็นองค์ประกอบส่วยย่อยของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับปัจเจกบุคคล อันเป็นองค์ประกอบส่วนย่อยของสังคมและประเทศ สำหรับหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ มักจะมีบทบาทและอิทธิพลต่อเศรษฐกิจในระดับที่แตกต่างออกไป โดยบางส่วนสามารถมีอิทธิพลต่อตลาดมาก เช่น พ่อค้าหรือเจ้าของสัมปทานผูกขาด หรือบางหน่วยมีอิทธิพลต่อตลาดน้อยกว่า เช่น ผู้บริโภคแต่ละราย  สามารถจะจัดกลุ่มและแบ่งเป็นประเภท ได้ดังนี้
๑)ครัวเรือน เป็นหน่วยเศรษฐกิจของบุคคลธรรมดาหรือครอบครัวโดยใหญ่แล้วครัวเรือนมักจะมีแหล่งรายได้จากการทำงานเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
๒)หน่วยธุรกิจเป็นหน่วยเศรษฐกิจของบริษัทห้างร้านหรือองค์กรธุรกิจที่มักแสวงหากำไรหน่วยเศรษฐกิจประเภทนี้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
๓)รัฐบาล เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่มีฐานะเป็นรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐบาล ซึ่งมักมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะมิใช่การแสวงหากำไรผู้ผลิต

เป้าหมายของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร


เป้าหมายของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ อาจเป็นคำที่ไม่ค่อยคุ้นหูกันมากนักเมื่อเทียบกับวิชาอื่นในสาขาสังคมศาสตร์ หรือยิ่งไปกว่านั้น เรามักมีคำถานอยู่เสมอว่าสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์มีเป้าหมายอย่างไร และทำไมถึงต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือเมื่อศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ไปพอสมควรแล้ว จะนำเอาความรู้ที่ได้จากการศึกษานั้นไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
(๑)     มุ่งทำความเข้าใจในพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์  เพื่อใช้ความรู้นั้นให้
เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตน
(๒)    มุ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมถึงสภาพต่างๆ  ที่เกิดขึ้น  และผลกระทบต่อ
ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
(๓)     มุ่งศึกษาเพื่อช่วยให้รัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายที่เหมาะสมกับปัญหา
เศรษฐกิจต่างๆ  รวมทั้งการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเศรษฐกิจของประเทศและของรัฐบาลเองด้วย

ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์



ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์
              วิชาเศรษฐศาสตร์ศึกษาควบคลุมถึงประเด็นต่างๆ  มากมาย  โดยพยายามอธิบายถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรและการแก้ไขปัญหาที่สังคมไม่พึงปรารถนาด้วยเหตุนี้  วิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีการศึกษาใน    ลักษณะดังนี้
๑) เศรษฐศาสตร์บริสุทธิ์
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งอธิบายถึงปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจและแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล  หรือระหว่างปัจจัยหรือสาเหตุกับผลลัพธ์  เช่น  ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง  ผู้ซื้อจะตัดสินใจอย่างไร  โดยไม่คำนึงถึงว่าการตัดสินใจอย่างไร  โดยไม่คำนึงว่าการตัดสินใจนั้นเป็นที่น่าพึงพอใจของสังคมหรือไม่  เป็นต้น
๒) เศรษฐศาสตร์นโยบาย 
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของสังคมว่า การดำเนินกิจกรรมหรือการตัดสินใจหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ เช่น ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง ผู้ซื้อควรจะตัดสินใจอย่างไร หรือรัฐบาลควรจะดำเนินการอย่างไร      เป็นต้น ดังนั้น สามารถจำแนกขอบข่ายออกได้เป็น ๒ แนวทาง ดังนี้
(๑)  เศรษฐศาสตร์จุลภาคหรือจุลเศรษฐศาสตร์
(๒) เศรษฐศาสตร์มหาภาคหรือมหาเศรษฐศาสตร์

ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน


ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
          ในชีวิตประจำวันของมนุษย์  ย่อมมีเรื่องที่ต้องคิดและตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งมีให้พิจารณาอยู่มากมายหลายชนิด หลายราคา และหลายยี่ห้ออยู่ตลอดเวลาดังนั้น  วิชาเศรษฐศาสตร์จึงสามารถนำมาประยุกต์ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้  โดยมีปัจจัยหลายประการเข้ามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดังกล่าว  เช่น  ราคาของสินค้า จำนวนเงินที่มีอยู่  รสนิยม  ความพึงพอใจต่างๆ  เป็นต้น    ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์  รวมทั้งแสดงถึงรสนิยมที่เหมาะสมในการรู้จักเลือกบริโภค และยังเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติในทางอ้อมอีกด้วย
          ครอบครัวหรือแม้แต่รัฐบาลก็เช่นเดียวกัน  จึงจำเป็นต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ  ในลักษณะคล้ายคลึงกับการตัดสินใจของแต่ละคน  ในระดับครอบครัวนั้น  พ่อ  แม่ หรือผู้นำของครอบครัวควรคำนึงถึงบัญชีรายรับ-รายจ่ายว่ารายได้โดยรวมของครอบครัวเป็นอย่างไรทั้งนี้   เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่า   ครอบครัวมีกำลังในการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการได้มากน้อยเพียงใด
          สำหรับรัฐบาลก็มีรายรับ-รายจ่ายเช่นเดียวกันกับระดับครอบครัว  แต่รัฐบาลเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่  และมีหน่วยงานบางหน่วยงานทำหน้าที่แสวงหารายได้เข้าประเทศ  เช่น กรมสรรพากร  มีหน้าที่เก็บภาษีรายได้จากประชาชน  กรมสรรพสามิต  มีหน้าที่เก็บภาษีสินค้าหรือกรมศุลกากร  มีหน้าที่เก็บภาษีมินค้านำเข้าจากต่างประเทศ  เป็นต้น  ซึ่งรัฐบาลต้องอาศัยรายได้เหล่านี้สำหรับซื้อสินค้าและอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อนำมาใช้บริหารปกครองประเทศ  รวมทั้งจัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งสำหรับเป็นค่าจ้างและเงินเดือนของพนักงานและข้าราชการทั่วไป

ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์

                 

          ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความต้องการมากจนไม่มีขีดจำกัด  แต่ทรัพยากรมีอยู่จำกัด ทำให้มนุษย์ไม่สามารถนำทรัพยากรมาบำบัดความต้องการของตนเองได้อย่างพอเพียง  จึงต้องมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
          ยกตัวอย่างเช่น  มนุษย์มีความต้องการด้านเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากที่สุด  แต่ต้องยอมรับความเป็นจริงที่ว่าทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ที่ดินและน้ำ  มีอยู่อย่างจำกัด  จึงสามารถทำการเพาะปลูกได้เพียงอย่างเดียว  จึงจำเป็นต้องแบ่งปันที่ดินและน้ำบางส่วนสำหรับกิจกรรมหรือการใช้ประโยชน์ประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย การเลี้ยงสัตว์ การสร้างเส้นทางคมนาคม  เป็นต้นว่า  เป็น
          ดังนั้นวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความจำกัดความอย่างสั้นๆว่า  เป็นวิชาที่ได้ศึกษาถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรืออาจกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่านั่นเอง

ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร

        
              แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ  ดังปรากฏอยูในหลักปรัชญาของนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง  เช่น  เพลโต  อริสโตเติล  เป็นต้น  แต่ไม่ได้ถือเป็นหลักหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ จนกระทั่งในช่วงคริศต์ศตวรรษที่ ๑๘ แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์จึงได้เริมศึกษากันอย่างจริงจังดังจะเห็นได้จาก  อดัม  สมิธ (Adam Smith)ได้แต่งหนังสือเรื่อง  ความมั่งคั่งแห่งชาต (The Wealth of Nations)ที่กล่าวว่ารัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซงหรือเกี่ยวข้องกับการผลิตและการค้าที่น้อยที่สุด หนังสือเล่มนี้นับเป็นหนังสือทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลก  และสมิธได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ผลการเรียนรู้
1.  รู้เข้าใจความหมาย ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
2.  รู้เข้าใจขอบข่ายและแขนงวิชาเศรษฐศาสตร์
3.  รู้เข้าใจแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ รวทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายและจุดมุ่งหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความต้องการมากจนไม่มีขีดจำกัด  แต่ทรัพยากรมีอยู่จำกัด 
ทำให้มนุษย์ไม่สามารถนำทรัพยากรมาบำบัดความต้องการของตนเองได้อย่างพอเพียง  จึงต้องมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
          ยกตัวอย่างเช่น  มนุษย์มีความต้องการด้านเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากที่สุด  แต่ต้องยอมรับความเป็นจริงที่ว่าทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ที่ดินและน้ำ  มีอยู่อย่างจำกัด  จึงสามารถทำการเพาะปลูกได้เพียงอย่างเดียว  จึงจำเป็นต้องแบ่งปันที่ดินและน้ำบางส่วนสำหรับกิจกรรมหรือการใช้ประโยชน์ประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย การเลี้ยงสัตว์ การสร้างเส้นทางคมนาคม  เป็นต้นว่า  เป็น
          ดังนั้นวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความจำกัดความอย่างสั้นๆว่า  เป็นวิชาที่ได้ศึกษาถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรืออาจกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่านั่นเอง