วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หน่วยเศรษฐกิจ


หน่วยเศรษฐกิจ
หน่วยเศรษฐกิจเป็นองค์ประกอบส่วยย่อยของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับปัจเจกบุคคล อันเป็นองค์ประกอบส่วนย่อยของสังคมและประเทศ สำหรับหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ มักจะมีบทบาทและอิทธิพลต่อเศรษฐกิจในระดับที่แตกต่างออกไป โดยบางส่วนสามารถมีอิทธิพลต่อตลาดมาก เช่น พ่อค้าหรือเจ้าของสัมปทานผูกขาด หรือบางหน่วยมีอิทธิพลต่อตลาดน้อยกว่า เช่น ผู้บริโภคแต่ละราย  สามารถจะจัดกลุ่มและแบ่งเป็นประเภท ได้ดังนี้
๑)ครัวเรือน เป็นหน่วยเศรษฐกิจของบุคคลธรรมดาหรือครอบครัวโดยใหญ่แล้วครัวเรือนมักจะมีแหล่งรายได้จากการทำงานเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
๒)หน่วยธุรกิจเป็นหน่วยเศรษฐกิจของบริษัทห้างร้านหรือองค์กรธุรกิจที่มักแสวงหากำไรหน่วยเศรษฐกิจประเภทนี้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
๓)รัฐบาล เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่มีฐานะเป็นรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐบาล ซึ่งมักมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะมิใช่การแสวงหากำไรผู้ผลิต

เป้าหมายของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร


เป้าหมายของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ อาจเป็นคำที่ไม่ค่อยคุ้นหูกันมากนักเมื่อเทียบกับวิชาอื่นในสาขาสังคมศาสตร์ หรือยิ่งไปกว่านั้น เรามักมีคำถานอยู่เสมอว่าสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์มีเป้าหมายอย่างไร และทำไมถึงต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือเมื่อศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ไปพอสมควรแล้ว จะนำเอาความรู้ที่ได้จากการศึกษานั้นไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
(๑)     มุ่งทำความเข้าใจในพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์  เพื่อใช้ความรู้นั้นให้
เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตน
(๒)    มุ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมถึงสภาพต่างๆ  ที่เกิดขึ้น  และผลกระทบต่อ
ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
(๓)     มุ่งศึกษาเพื่อช่วยให้รัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายที่เหมาะสมกับปัญหา
เศรษฐกิจต่างๆ  รวมทั้งการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเศรษฐกิจของประเทศและของรัฐบาลเองด้วย

ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์



ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์
              วิชาเศรษฐศาสตร์ศึกษาควบคลุมถึงประเด็นต่างๆ  มากมาย  โดยพยายามอธิบายถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรและการแก้ไขปัญหาที่สังคมไม่พึงปรารถนาด้วยเหตุนี้  วิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีการศึกษาใน    ลักษณะดังนี้
๑) เศรษฐศาสตร์บริสุทธิ์
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งอธิบายถึงปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจและแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล  หรือระหว่างปัจจัยหรือสาเหตุกับผลลัพธ์  เช่น  ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง  ผู้ซื้อจะตัดสินใจอย่างไร  โดยไม่คำนึงถึงว่าการตัดสินใจอย่างไร  โดยไม่คำนึงว่าการตัดสินใจนั้นเป็นที่น่าพึงพอใจของสังคมหรือไม่  เป็นต้น
๒) เศรษฐศาสตร์นโยบาย 
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของสังคมว่า การดำเนินกิจกรรมหรือการตัดสินใจหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ เช่น ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง ผู้ซื้อควรจะตัดสินใจอย่างไร หรือรัฐบาลควรจะดำเนินการอย่างไร      เป็นต้น ดังนั้น สามารถจำแนกขอบข่ายออกได้เป็น ๒ แนวทาง ดังนี้
(๑)  เศรษฐศาสตร์จุลภาคหรือจุลเศรษฐศาสตร์
(๒) เศรษฐศาสตร์มหาภาคหรือมหาเศรษฐศาสตร์

ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน


ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
          ในชีวิตประจำวันของมนุษย์  ย่อมมีเรื่องที่ต้องคิดและตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งมีให้พิจารณาอยู่มากมายหลายชนิด หลายราคา และหลายยี่ห้ออยู่ตลอดเวลาดังนั้น  วิชาเศรษฐศาสตร์จึงสามารถนำมาประยุกต์ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้  โดยมีปัจจัยหลายประการเข้ามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดังกล่าว  เช่น  ราคาของสินค้า จำนวนเงินที่มีอยู่  รสนิยม  ความพึงพอใจต่างๆ  เป็นต้น    ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์  รวมทั้งแสดงถึงรสนิยมที่เหมาะสมในการรู้จักเลือกบริโภค และยังเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติในทางอ้อมอีกด้วย
          ครอบครัวหรือแม้แต่รัฐบาลก็เช่นเดียวกัน  จึงจำเป็นต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ  ในลักษณะคล้ายคลึงกับการตัดสินใจของแต่ละคน  ในระดับครอบครัวนั้น  พ่อ  แม่ หรือผู้นำของครอบครัวควรคำนึงถึงบัญชีรายรับ-รายจ่ายว่ารายได้โดยรวมของครอบครัวเป็นอย่างไรทั้งนี้   เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่า   ครอบครัวมีกำลังในการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการได้มากน้อยเพียงใด
          สำหรับรัฐบาลก็มีรายรับ-รายจ่ายเช่นเดียวกันกับระดับครอบครัว  แต่รัฐบาลเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่  และมีหน่วยงานบางหน่วยงานทำหน้าที่แสวงหารายได้เข้าประเทศ  เช่น กรมสรรพากร  มีหน้าที่เก็บภาษีรายได้จากประชาชน  กรมสรรพสามิต  มีหน้าที่เก็บภาษีสินค้าหรือกรมศุลกากร  มีหน้าที่เก็บภาษีมินค้านำเข้าจากต่างประเทศ  เป็นต้น  ซึ่งรัฐบาลต้องอาศัยรายได้เหล่านี้สำหรับซื้อสินค้าและอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อนำมาใช้บริหารปกครองประเทศ  รวมทั้งจัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งสำหรับเป็นค่าจ้างและเงินเดือนของพนักงานและข้าราชการทั่วไป

ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์

                 

          ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความต้องการมากจนไม่มีขีดจำกัด  แต่ทรัพยากรมีอยู่จำกัด ทำให้มนุษย์ไม่สามารถนำทรัพยากรมาบำบัดความต้องการของตนเองได้อย่างพอเพียง  จึงต้องมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
          ยกตัวอย่างเช่น  มนุษย์มีความต้องการด้านเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากที่สุด  แต่ต้องยอมรับความเป็นจริงที่ว่าทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ที่ดินและน้ำ  มีอยู่อย่างจำกัด  จึงสามารถทำการเพาะปลูกได้เพียงอย่างเดียว  จึงจำเป็นต้องแบ่งปันที่ดินและน้ำบางส่วนสำหรับกิจกรรมหรือการใช้ประโยชน์ประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย การเลี้ยงสัตว์ การสร้างเส้นทางคมนาคม  เป็นต้นว่า  เป็น
          ดังนั้นวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความจำกัดความอย่างสั้นๆว่า  เป็นวิชาที่ได้ศึกษาถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรืออาจกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่านั่นเอง

ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร

        
              แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ  ดังปรากฏอยูในหลักปรัชญาของนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง  เช่น  เพลโต  อริสโตเติล  เป็นต้น  แต่ไม่ได้ถือเป็นหลักหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ จนกระทั่งในช่วงคริศต์ศตวรรษที่ ๑๘ แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์จึงได้เริมศึกษากันอย่างจริงจังดังจะเห็นได้จาก  อดัม  สมิธ (Adam Smith)ได้แต่งหนังสือเรื่อง  ความมั่งคั่งแห่งชาต (The Wealth of Nations)ที่กล่าวว่ารัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซงหรือเกี่ยวข้องกับการผลิตและการค้าที่น้อยที่สุด หนังสือเล่มนี้นับเป็นหนังสือทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลก  และสมิธได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ผลการเรียนรู้
1.  รู้เข้าใจความหมาย ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
2.  รู้เข้าใจขอบข่ายและแขนงวิชาเศรษฐศาสตร์
3.  รู้เข้าใจแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ รวทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายและจุดมุ่งหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความต้องการมากจนไม่มีขีดจำกัด  แต่ทรัพยากรมีอยู่จำกัด 
ทำให้มนุษย์ไม่สามารถนำทรัพยากรมาบำบัดความต้องการของตนเองได้อย่างพอเพียง  จึงต้องมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
          ยกตัวอย่างเช่น  มนุษย์มีความต้องการด้านเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากที่สุด  แต่ต้องยอมรับความเป็นจริงที่ว่าทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ที่ดินและน้ำ  มีอยู่อย่างจำกัด  จึงสามารถทำการเพาะปลูกได้เพียงอย่างเดียว  จึงจำเป็นต้องแบ่งปันที่ดินและน้ำบางส่วนสำหรับกิจกรรมหรือการใช้ประโยชน์ประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย การเลี้ยงสัตว์ การสร้างเส้นทางคมนาคม  เป็นต้นว่า  เป็น
          ดังนั้นวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความจำกัดความอย่างสั้นๆว่า  เป็นวิชาที่ได้ศึกษาถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรืออาจกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ให้ความสำคัญกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่านั่นเอง

แนวทางคำตอบเศรษฐศาสตร์


1.       ระบบเศรษฐกิจ  หมายถึง
             ง  กลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจที่มีการปฏิบัติคล้ายคลึงกันและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสถาบัน
2.       ผู้บริโภคโดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายอย่างไรในการบริโภคสินค้าและบริการ
ค ให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด
3.       ผู้ผลิตในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีจุดมุ่งหมายอย่างไรในการผลิต
ข ให้ได้รับกำไรสุทธิสูงสุด
4.       ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจซึ่งทุกระบบเศรษฐกิจจะมีอยู่เหมือน ๆ กัน คือข้อใด
ข จะผลิตอะไร  ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร
5.       ปัจจัยการผลิตในระบบเศรษฐกิจข้อใดมีความสำคัญที่สุดในการดำเนินการผลิตให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด
ง ผู้ประกอบการ
6.       อะไรคือลักษณะของผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิตขั้นทุติยภูมิ
ก บ้านอยู่อาศัย
7.       ข้อใด ไม่จัดอยู่ในประเภทของหน่วยเศรษฐกิจใน ระบบเศรษฐกิจ
ง หน่วยต่างประเทศ
8.       ระบบเศรษฐกิจแบบใดที่รัฐบาลจะเข้ามาควบคุมกิจการที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นส่วนใหญ่แต่เอกชนมีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระดับหนึ่ง
ง ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย
9.       ในปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจรูปแบบใด
ข  แบบผสมเน้นไปทางทุนนิยม
10.    ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ มีข้อดีอย่างไร
ค เอกชนมีความเท่าเทียมกันในฐานะทางเศรษฐกิจ
11.    ข้อใดจัดอันดับการแข่งขันของตลาดประเภทต่าง ๆ จากมากไปหาน้อย ตามลำดับหมายเลขที่กำหนดให้ได้ถูกต้องที่สุด   1.   ตลาดผูกขาด 2.   ตลาดผู้ขายน้อยราย  3.   ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ 4.  ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
ค 3  4  2  1
12.    ตัวอย่างสินค้าในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ที่มีผู้ผลิตจำนวนมากเป็นรายเล็ก ๆ ยกเว้น ข้อใด
ค ตลาดโค กระบือ
13.    ลักษณะหรือคุณสมบัติของตลาดผูกขาด มักจะพบในระบบเศรษฐกิจแบบใด
ค แบบสังคมนิยม
14.    สินค้าและบริการในข้อใดที่มีโครงสร้างแบบตลาดผู้ขายน้อยราย
ค ปูนซีเมนต์  โรงภาพยนตร์
15.    ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ข้อใดสำคัญที่สุด
ก ราคาของสินค้าและบริการที่จะซื้อ
16.    ภาวะดุลยภาพของตลาดจะเกิดขึ้นเมื่อใด
ค อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกินมีค่าเท่ากับศูนย์      
17.    ในตลาดแรงงาน ค่าแรงดุลยภาพเท่ากับ 120 บาทต่อวัน และปริมาณแรงงานดุลยภาพเท่ากับ 100,000 คน เมื่อรัฐบาลประกาศค่าแรงงานขั้นต่ำไว้ ณ 151 บาทต่อวัน โดยมีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดผลอย่างไร
ค อุปทานแรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้มากกว่า 100,000  คน
18.    อุปสงค์ (Demand) ต่อราคา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างอะไร
ข ราคาสินค้ากับปริมาณเสนอซื้อสินค้านั้น
ให้ใช้แผนภูมิต่อไปนี้ตอบคำถามในข้อ 19

ราคา  ต่อกิโลกรัม
ปริมาณการซื้อส้ม/ ก.ก.
ปริมาณการขายส้ม/ก.ก.
5
4
3
2
1
10
20
30
40
50
50
40
30
20
10

19.    ที่ระดับราคาส้มกิโลกรัมละ 5 บาท จะเกิดผลอย่างไร
ค ปริมาณความต้องการเสนอซื้อ 10 กิโลกรัม ความต้องการเสนอขาย 50 กิโลกรัม  มีส้มเหลือ 40 กิโลกรัม
20.    ภาวะที่เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดอะไร
ก ปริมาณเสนอซื้อลดลง
21.    การที่ราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะส่งผลอย่างไร เพราะเหตุใด
ก  ราคาลด เพราะเกิดอุปทานส่วนเกิน
22.    ข้อใด ไม่ใช่ผลกระทบจากการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล
ง  อุปทานแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
23.    การกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของประเทศไทยที่มีการเพิ่มขึ้นจากเดิม เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นผลมาจากสาเหตุใด
ง  ค่าครองชีพสูงขึ้น
24.    จากมติของคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ได้กำหนดให้จังหวัดใดบ้างที่มีค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุด 5 อันดับแรกของไทย
ข  กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี
25.    กฎหมายฉบับปัจจุบันได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุด สูงสุดที่อัตราเท่าใด
ข  151- 206  บาท                     
26.    การที่รัฐบาลใช้กฎหมายกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย จัดเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเรื่องใด
ค  การแทรกแซงราคา
27.    การที่รัฐบาลกำหนดให้การซื้อขายสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งจะต้องอยู่ในระดับราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาหนึ่ง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ใด
ก  เพื่อยกระดับราคาและรายได้ของผู้ผลิต
28.    องค์กรใดที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกจ้าง มีอำนาจต่อรองกับนายจ้าง เกี่ยวกับการขึ้นค่าจ้างและสวัสดิการอื่น ๆ 
ค  สหภาพแรงงาน
29.    การแทรกแซงราคาที่รัฐบาลไทยนิยมนำมาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ยกเว้น ข้อใด
ง  การตั้งกำแพงภาษี
30.    การแทรกแซงราคาโดยการกำหนดราคาขั้นต่ำ ที่รัฐบาลดำเนินการส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทใด
ก  สินค้าเกษตรกรรม    
31.    การกำหนดราคาขั้นสูงที่รัฐบาลใช้ควบคุม ส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าและบริการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพ ยกเว้น ข้อใด
ค  ตั๋วชมภาพยนตร์  
32.    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือข้อใด
ก  พึ่งตนเอง               
33.    ทุกข้อเป็นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ยกเว้น ข้อใด
ข ไม่พึ่งทุนในการผลิต
34.    ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเปรียบเทียบได้ใกล้เคียงกับระบบเศรษฐกิจใด
ค  ระบบพอยังชีพ
35.    หลักการใช้ทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจพอเพียงยึดเรื่องใดเป็นสำคัญ
ก  เน้นความยั่งยืน
36.    หลักการใช้เทคโนโลยีในระบบเศรษฐกิจพอเพียงยึดแนวทางใดเป็นสำคัญ
ก  เทคโนโลยีที่เหมาะสม
37.    เป้าหมายทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจพอเพียงคือข้อใด
ค  มุ่งลดรายจ่ายเป็นสำคัญ
38.    ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมีแนวทางปฏิบัติ 3 ขั้นตอนคือข้อใด
ง  พอเพียง  สหกรณ์  กลุ่มอาชีพ
39.    การบริหารจัดการที่ดินและการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดของทฤษฎีใหม่ มีสัดส่วนตามข้อใด
ก  30:30:30:10
40.    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่ได้อัญเชิญ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศจนประสบผลสำเร็จ
ค  แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่  8
41.    องค์กรบุคคลซึ่งรวมกลุ่มโดยความสมัครใจในการดำเนินกิจกรรมที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการบริหารงานองค์กรตามหลักประชาธิปไตย โดยไม่แสวงหากำไรมีความหมายตรงกับข้อใด
ข  สหกรณ์
42.    สหกรณ์ทุกประเภทจะประสบผลสำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติตามหลักการร่วมกัน ยกเว้น ข้อใด
ข  ความเป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกับใคร
43.    บุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งการสหกรณ์ของโลก คือใคร
ง  โรเบริ์ต  โอเวน
44.    สหกรณ์แห่งแรกของประเทศไทย คือข้อใด
ก  สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้
45.    สหกรณ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาข้อใดมากที่สุด
ง  ขาดแคลนเงินทุนและความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ด้วยกัน
46.    สหกรณ์ในข้อใดจัดอยู่ในประเภทสหกรณ์นอกภาคเกษตรทั้งหมด          
ก  สหกรณ์ร้านค้า  สหกรณ์ออมทรัพย์
47.    สหกรณ์ใดที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎร จัดสร้างปัจจัยพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวก ให้ผู้ที่อยู่อาศัย จัดหาสินเชื่อปัจจัยการผลิตและสิ่งของจำเป็นให้กับสมาชิก
ข  สหกรณ์นิคม
48.    ข้อใดสอดคล้องกับหลักการพัฒนาแบบยั่งยืน
ข  การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดเพื่อสงวนไว้ใช้ในโอกาสต่อไป
49.    เป้าหมายท้ายสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คือข้อใด
ง  การเพิ่มขึ้นของมาตรฐานการครองชีพของคนในประเทศ
50.    เหตุผลใดมีความสำคัญที่สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ง  การลดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้
51.    การรวมกลุ่มของสมาชิกสหกรณ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือช่วยเหลือด้านสินเชื่อจากหน่วยงานใด
ง  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
52.    หลักการสหกรณ์ในข้อใดที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานตามหลักประชาธิปไตยที่แตกต่างจากธุรกิจทั่วไป
ข  ผู้ถือหุ้นหนึ่งคนจะมีสิทธิเพียงหนึ่งเสียง
53.    จากข้อมูลกรมส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์ประเภทใดมีจำนวนสมาชิกมากที่สุด เรียงตามลำดับ
ง  สหกรณ์การเกษตร  สหกรณ์ออมทรัพย์  สหกรณ์บริการ
54.    สหกรณ์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและประเทศ น้อยที่สุดในข้อใด
ค  สหกรณ์เป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยถูกที่สุดสำหรับบุคคลทั่วไป
55.    แนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญในเรื่องใดมากที่สุด
ง  พัฒนาเศรษฐกิจ โดยรักษาสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
56.    ปัญหาทางเศรษฐกิจในชุมชนที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือเรื่องใด
ก  ความยากจนอันเกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศ
57.    แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนในประเทศไทยข้อใดเหมาะสมที่สุด
ค  นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน
58.    การรวมกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จใน การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจระดับชุมชนของไทย คือ โครงการใด
ก  หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์